Page 79 - kpiebook64007
P. 79

กำรศึกษำอิทธิพลกำรใช้จ่ำยเงินของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีต่อประชำชนและผลกำร
                              เลือกตั้ง

                              อิทธิผลการจ่ายเงินหรือการซื้อเสียงของผู้สมัคร มีความเปลี่ยนแปลงไปและส่งผลให้
                       พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนมีความแตกต่างจากในอดีต โดยมีข้อสังเกตคือ ภาค

                       ตะวันออกเฉียงเหนือที่เคยเป็นพื้นที่ที่ถูกมองว่ามีการซื้อสิทธิขายเสียงกันอย่างกว้างขวาง แต่ผลการ
                       ส ารวจประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตจังหวัดขอนแก่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่า ไม่มี
                       ความจ าเป็นต้องเลือกผู้สมัครที่จ่ายเงิน การใช้จ่ายเงินซื้อเสียงไม่ได้ส่งผลต่อการตัดสินใจของตนแต่
                       อย่างใด โดยได้ให้เหตุผลประกอบว่ามีผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนเองชื่นอยู่แล้วและให้ความส าคัญกับ

                       ความรู้ความสามารถของผู้สมัครมากกว่าการจ่ายเงิน

                              แต่มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางกลุ่มที่ยังเห็นว่า เงินเป็นปัจจัยส าคัญในการตัดสินใจเลือก
                       ผู้สมัคร โดยให้ข้อมูลว่า ตนเองได้รับประโยชน์โดยตรงจึงต้องเลือกเพื่อตอบแทนความมีน้ าใจของ
                       ผู้สมัคร และการจ่ายเงินท าให้ความเกรงใจซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินซื้อเสียงถือว่าไม่ใช่
                       ปัจจัยหลักต่อการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่เงินเป็นเพียงปัจจัยเสริมที่ช่วยในการ

                       ตัดสินใจ เพราะปัจจัยส าคัญของการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครยังคงเชื่อมโยงอยู่กับนโยบาย
                       และความนิยมในตัวผู้สมัครเองด้วย

                              กำรศึกษำทัศนคติของประชำชน

                              ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มีทัศนคติต่อการซื้อเสียง การแลก
                       ผลประโยชน์ และการสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ในพื้นที่ ไปในทิศทางที่ไม่ให้การยอมรับการกระท านั้น
                       โดยให้ความเห็นว่าเป็นการกระท าที่ไม่ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย เกิดความไม่เป็นธรรมในการ

                       แข่งขัน เข้าข่ายทุจริตเลือกตั้ง และเป็นการแทรกแซงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ประชาชนบางกลุ่มยัง
                       ได้ให้ข้อมูลว่าตนเองรับรู้การทุจริตของผู้สมัครในพื้นที่ ได้ติดตามข่าวสารอย่างสม่ าเสมอพูดคุย
                       แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนบ้านหรือคนในชุมชน วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียและทางเลือกที่ดีใน
                       ด้านผลประโยชน์ให้กับชุมชนมากกว่าผลประโยชน์เฉพาะตนเอง สะท้อนให้เห็นการตื่นตัวทาง
                       การเมืองของประชาชน ไม่เพิกเฉยต่อการกระท าใด ๆ ที่อาจน าไปสู่การทุจริตการทุจริตคอร์รัปชัน

                       และไม่ได้ค านึงถึงระบบอุปถัมภ์ที่ตนพึ่งพิงอยู่อย่างเดียว

                              ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า เรื่องของความโปร่งใสในการแข่งขันเลือกตั้งถือเป็นสิ่งที่ส าคัญ
                       เพราะจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการเลือกตั้งโดยตรง หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งพบว่า
                       ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนรู้จักหรือชื่นชอบมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต ความเชื่อมั่นของประชาชนก็

                       ลดน้อยลงไป ส่งผลต่อคะแนนนิยมในตัวผู้สมัครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้









                            โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น   62
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84