Page 100 - kpiebook63032
P. 100

99








                          เขตเลือกตั้งที่ 2 อันดับที่ 1 ได้แก่ นางสาวตรีนุช เทียนทอง พรรคพลังประชารัฐ ได้ 52,787

                  คะแนน รองลงมาคือ พ.ต.อ.พายัพ ทองชื่น       พรรคเพื่อไทย ได้ 21,901 คะแนน และอันดับที่ 3 คือ
                  นายยุทธชัย รำาไพวรรณ พรรคอนาคตใหม่ ได้ 13,560 คะแนน


                          เขตเลือกตั้งที่ 3 อันดับที่ 1 ได้แก่ นายสุรศักดิ์ ชิงนวรรณ์ พรรคพลังประชารัฐ ได้ 41,962 คะแนน

                  รองลงมาคือ นายสรวงศ์ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย ได้ 34,141 คะแนน และลำาดับที่ 3 คือ นางสาวสุนันทรัตน์
                  มุกตรี พรรคอนาคตใหม่ ได้ 12,024 คะแนน






                  4.6 สรุปเปรียบเทียบควำมคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่ำง

                  ในงำนวิจัย




                          จากการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างซึ่งแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักการเมืองผู้ลงสมัครรับ

                  เลือกตั้ง 2) กลุ่มองค์กรภาคเอกชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการเลือกตั้ง 3) ผู้แทนสถาบันทางการเมือง (ทั้ง
                  ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายความมั่นคง) และ 4) ประชาชน โดยประเด็นคำาถามที่มีทั้งส่วนเฉพาะเจาะจงกับ
                  กลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่ม และประเด็นคำาถามในภาพรวมโดยทั่วไปเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เช่น ประเด็น

                  กฎหมายพรรคการเมืองที่บังคับใช้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีข้อดีข้อเสียแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่อย่างไร โดย

                  พบว่า กลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่มส่วนใหญ่ได้แสดงความคิดเห็นที่สอดคล้องไปในทางเดียวกัน คือ มองว่า
                  กฎหมายที่กำาหนดให้มีการกาบัตรลงคะแนนเพียงใบเดียว ไม่เหมาะสม เช่น ถ้าชอบตัวบุคคลแต่ไม่ชอบ
                  พรรค เมื่อเลือกบุคคลก็จะได้พรรคมาด้วย เป็นระบบที่บีบบังคับทำาให้ต้องตัดสินใจแบบมัดมือชก และไม่

                  เห็นด้วยกับกติกาการเลือกตั้งที่กำาหนดให้ ส.ว.สามารถร่วมโหวตนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก ส.ว. 250 คน

                  ได้รับการคัดเลือกมาจากคนกลุ่มเดียว ในขณะที่ประชาชน 1 คน มีสิทธิ์เพียง 1 เสียงเท่านั้น ทำาให้กติกา
                  เลือกตั้งครั้งนี้เป็นการออกแบบการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ส่วนประเด็นการแยกตัวออกมาของผู้สมัครที่
                  เคยเป็น ส.ส.พรรคเดียวกัน และมีการส่งผู้สมัครนามสกุลเดียวกันในนามพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายตรงกัน

                  ข้าม กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป บางส่วนเชื่อว่าเป็นการขัดแย้งกันจริงในเรื่องอุดมการณ์

                  ทางการเมือง และอีกส่วนหนึ่งคิดว่าเป็นเกมทางการเมืองที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจ เนื่องจาก
                  ไม่ว่าฝ่ายใดชนะแล้วมีโอกาสเข้าร่วมรัฐบาลก็จะสามารถผลักดันงบประมาณลงมาพัฒนาพื้นที่ในจังหวัด
                  สระแก้วได้ และสำาหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกพรรคหรือเลือกตัวบุคคล ส่วนใหญ่มีความคิดเห็น

                  ไปในทิศทางเดียวกันว่าประชาชนจะเลือกผู้แทนที่ตัวบุคคลที่สามารถเข้าถึงง่าย ไม่ทิ้งพื้นที่ เป็นที่พึ่ง

                  ของประชาชนได้ และมองถึงโอกาสของผู้แทนที่เลือกจะเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นฝ่ายรัฐบาล ทั้งนี้เนื่องจาก
                  จะสามารถผลักดันงบประมาณลงมาพัฒนาจังหวัดสระแก้วให้มีความเจริญทัดเทียมกับจังหวัดใกล้เคียง
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105