Page 127 - kpiebook63030
P. 127
126 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดปัตตานี
สำาหรับการใช้ทรัพยากรการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการจำากัดการใช้จ่ายของตัวผู้สมัคร ตามกฎหมาย
ประกอบการเลือกตั้ง หากทว่าในส่วนของการใช้จ่ายจริง ผู้วิจัยได้พบว่า ผู้สมัครโดยส่วนใหญ่ใช้จ่าย
เงินมากกว่าจำานวนที่ กกต. กำาหนด โดยพิจารณาจากกิจกรรมทางการเมือง โดยหลักๆ ค่าใช้จ่ายมักใช้
ไปในการจัดเลี้ยง และทำากิจกรรมทางด้านกีฬา และทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น
5. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่
ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดปัตตานี
การเปลี่ยนแปลงขั้วทางการเมืองการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ตั้งแต่
การย้ายพรรคการเมืองของผู้สมัครการเลือกตั้ง และการเกิดขึ้นของพรรคใหม่ เช่น พรรคประชาชาติ
พรรคอนาคตใหม่ และพรรคพลังประชารัฐ เป็นต้น
ปรากฎการณ์การย้ายพรรคในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับว่าเป็นเรื่องที่สามารถยืนยัน
สมมุติฐานที่ว่า “คนในพื้นที่เลือกคน ไม่ใช่เลือกพรรค” กล่าวคือ การเปลี่ยนพรรคการเมืองของ
ผู้สมัครในพื้นที่จังหวัดปัตตานี สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการเลือก พฤติกรรมทางสังคม ที่สอดคล้องกับ
วัฒนธรรรมทางด้านมิติศาสนา ที่ให้คุณค่ากับคน และการนับถือคน มากกว่าพรรคที่สังกัด หากทว่า
ความเปลี่ยนแปลงที่จะเลือกพรรคมากกว่าเลือกคนก็เกิดขึ้น เป็นปรากฎการณ์ใหม่ ที่ยังไม่ส่งผลกระทบ
ต่อวิธีคิดการเลือกคนมากกว่าเลือกพรรค คือ การเกิดขึ้นของพรรคอนาคต ทำาให้คนรุ่นใหม่จำานวนมาก
ในเขต 1 ปัตตานี เลือกพรรคอนาคต ไม่ใช่เลือกผู้สมัครของพรรค
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
1. ควรส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าใจกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะหมวดว่าด้วยการเลือกตั้ง
เพราะรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเลือกตั้งจากบัตร 2 ใบ เหลือ
เพียง 1 ใบ ทำาให้ประชาชนบางส่วนสับสนและขาดความเข้าใจในการมีส่วนร่วมการเลือกตั้ง
2. ควรสนับสนุนให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและระบบ
การเลือกตั้ง
3. ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยประเด็นการเมืองวัฒนธรรม คุณค่า และระบบเครือญาติ