Page 125 - kpiebook63030
P. 125
124 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดปัตตานี
ไม่ว่าจะเป็นทางด้านนโยบายและภาพลักษณ์ที่ต้องการให้ประชาชนได้รับทราบ รวมถึงกิจกรรมทาง
การเมืองในโลกออฟไลน์ที่ยังคงเป็นลักษณะรูปแบบเดิม
สำาหรับจังหวัดปัตตานี รูปแบบและวิธีการหาเสียงมีลักษณะเฉพาะเจาะจงในเชิงมิติทางด้าน
วัฒนธรรม ศาสนา ที่เข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย อย่างไรก็ตามการเมืองวัฒนธรรมเช่นนี้ยังคงเป็นเครื่องมือ
ที่สำาคัญสำาหรับผู้สมัครลงเลือกตั้งทุกระดับ
สรุปงานวิจัยตามวัตถุประสงค์ทั้ง 5 ข้อ
1. เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง ขององค์กรและกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดปัตตานี
สรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับเวทีปราศรัยใหญ่ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี หากกล่าวเฉพาะในพื้นที่จังหวัด
ปัตตานี การลงมาของหัวหน้าพรรคเมืองอย่างเช่น พรรคประชาธิปัตย์ พรรอนาคตใหม่ และพรรคประชาชาติ
ก็ได้เปิดเวทีปราศรัยใหญ่ในจังหวัดปัตตานี ได้รับความสนใจจากผู้คนในจังหวัดปัตตานีเป็นจำานวนมาก
ข้อสังเกตจากผู้วิจัยที่ไปร่วมสังเกตการณ์การปราศรัยใหญ่ของพรรคการเมือง 3 พรรค มีข้อสรุปได้ดั้งนี้
ในเวทีปราศรัยใหญ่ของ (1) พรรคประชาธิปัตย์ การลงมาร่วมเวทีปราศรัยระดับแถวหน้าของ
พรรค เช่น หัวหน้าพรรค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ปรึกษาพรรค นายชวน หลีกภัย โดยเปิดเวทีในตัวเมือง
ปัตตานี ผู้เข้าร่วมเวทีส่วนหนึ่งก็มีหลายรุ่นแต่แลเห็นว่าจะมีจำานวนมากคือ กลุ่มวัยกลางคน กลุ่มข้าราชการ
และมีผู้นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ในเมืองปัตตานี เป็นเขต 1 ซึ่งการเลือกตั้งที่ผ่านมาเจ้าของพื้นที่
ก็คือพรรคประชาธิปัตย์ และผลของการเลือกตั้งครั้งนี้ก็เป็นพรรคของพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม ซึ่งเขต 1
ปัตตานี ถือว่าเป็นเขตหลักของพรรคประชาธิปัตย์ (2) พรรคอนาตใหม่ที่จังหวัดปัตตานี ผู้เข้าร่วมฟังเวที
ปราศรัยส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษาจะอยู่รอบๆ เวทีจำานวนมาก และเป็นการปราศรัยที่
เน้นเนื้อหาไปทางด้านเศรษฐกิจ เรื่องปากท้อง และเรื่องของการพัฒนาในพื้นที่ วาทศิลป์ผนวกกับประเด็น
นโยบายของหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ได้กระตุ้นให้คนหนุ่มสาวโดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา คนรุ่นใหม่
ให้ตื่นตัวจำานวนมาก แม้ว่าจะไม่ได้ที่นั่งในระบบแบ่งเขต ทั้ง 4 เขตในปัตตานี หากทว่าการเลือกตั้งครั้งนี้
ธนาธรได้เปลี่ยนโฉมให้การเมืองมาอยู่ในความสนใจของคนรุ่นใหม่ และก็มีพลังไม่น้อย พิจารณาจาก
คะแนนเสียงที่ได้รับจากจังหวัดปัตตานี และ (3) พรรคประชาชาติ ถือว่าเป็นพรรคการเมืองของคนมลายู
ในพื้นที่ก็อาจจะเป็นไปได้ การเปิดเวทีปราศรัยในพื้นที่ปัตตานี ได้เลือกสถานที่ขององค์กรศาสนา โดย
ได้รับการนิยมจากกลุ่มนักการศาสนา และกลุ่มชาวมลายูจำานวนมาก ความพิเศษคือเวทีปราศรัยหาเสียง
ของพรรคประชาชาติ ได้ปราศรัยเป็นภาษามลายูท้องถิ่น ซึ่งก็มีหัวหน้าพรรคเดียวเท่านั้นที่ได้ปราศรัยเป็น
ภาษามลายูท้องถิ่นได้ และมีอัตลักษณ์ที่เชื่องโยงกับคนท้องถิ่นอย่างแนบแน่น