Page 126 - kpiebook63030
P. 126
125
2. เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) จังหวัดปัตตานี กลุ่ม
ภาคประชาสังคม ที่เข้ามามีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตจังหวัดปัตตานี
สำาหรับพื้นที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ทำาให้สถานการณ์
การเฝ้าระวังการเกิดเหตุในพื้นที่การเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องที่มีความสำาคัญอย่างยิ่ง ภารกิจหน่วยงานที่รับผิดชอบ
โดยตรงก็คือ คณะกรรมการเลือกตั้งประจำาจังหวัดปัตตานี ที่ต้องอาศัยสรรพกำาลัง ทุกองคาพยพของรัฐ
ในการป้องกันความรุนแรง ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นในวันเลือกตั้ง ตลอดระยะเวลาที่
มีการลงคะแนนเสียงการเลือกตั้ง สามารถอนุมานและตีความได้ว่า กลุ่มขบวนการที่ก่อความรุนแรงไม่ได้
มองการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ต้องทำาลาย เพราะการเลือกตั้งเป็นการแสดงออกถึงเจตจำานงทางการเมืองแบบ
สันติวิธีอย่างหนึ่ง ขอส่งเสียงบอกแก่สังคมไทยว่า คนในพื้นที่ต้องการอะไร และต้องการผู้นำาแบบไหน
จังหวัดปัตตานี ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีหัวหน้าพรรคการเมืองสำาคัญๆ ลงมาพื้นที่เปิดเวทีปราศรัย
ใหญ่ในการเลือกตั้งครั้งนี้จำานวนมาก เช่น พรรคประชาชาติ พรรคอนาคตใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ ฯลฯ
ทำาให้เกิดการเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองต่างๆ อย่างคึกคักมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ด้วยพื้นที่จังหวัด
ปัตตานี มีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่มีนักศึกษาจำานวนมากและมีการโอนย้าย
ทะเบียนบ้านมาอยู่ในมหาวิทยาลัย ทำาให้พรรคการเมืองต่างๆ ให้ความสำาคัญอย่างมาก การหาเสียง
เลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งนี้มีรูปแบบไม่ต่างจากครั้งที่ผ่านมา แต่จะเพิ่มเติมในการหาเสียงในโลกออนไลน์
การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ ตั้งแต่กลุ่มภาคประชาสังคม นักสื่อสารมวลชน
ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกพรรค และประชาชน มีการตื่นตัวทางการเมืองสูง สาเหตุเพราะไม่มี
การเลือกตั้งมา 5 ปี ทำาให้ประชาชนมีความสนใจการเลือกตั้งครั้งนี้จำานวนมาก บทบาทของสื่อมวลชน
โดยเฉพาะในยุคออนไลน์ได้มีบทบาทอย่างมากต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ อย่างมีนัยยะสำาคัญ ตั้งแต่เรื่อง
ของการรณรงค์การเลือกตั้ง การติดตามการเลือกตั้ง การให้ข้อมูลองค์ความรู้พื้นฐานแก่ประชาชนในพื้นที่
การใช้สื่อออนไลน์ในการทำางาน เผยให้เห็นถึงการตื่นตัวการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่ของ
คนรุ่นใหม่มีเป็นกลุ่มคนสำาคัญต่อการเลือกตั้งครั้งนี้
3. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมือง
ของประชาชน และกลุ่มการเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัด
ปัตตานี
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกตั้งครั้งนี้ ประกอบไปด้วยสองส่วนที่สำาคัญ ประการแรก
มีผู้ใช้สิทธิการเลือกตั้ง เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่จำานวนมากขึ้น ประการที่สอง มีพรรคการเมืองจำานวนมาก
ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง อันนี้มาจากรัฐธรรมนูญ
4. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อให้เห็น
มูลค่าของการใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดปัตตานี