Page 19 - kpiebook63028
P. 19
18 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี
วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย
1. เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรและกลุ่ม
ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี ก่อนประกาศ
พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครในจังหวัดชลบุรี ช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง
3. เพื่อศึกษาผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรีเป็นรายพรรคและรายเขต
เลือกตั้ง
4. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี เป็นรายพรรค
และรายเขตเลือกตั้ง
5. เพื่อศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรีและ
ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อ
การตัดสินใจทางการเมือง
ขอบเขตของกำรศึกษำ
1. ขอบเขตด้านเวลา
ขอบเขตด้านเวลาของการศึกษาประกอบไปด้วย การศึกษาตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ช่วงระหว่าง
การมีพระราชกฤษฎีกากำาหนดให้มีการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง จนถึงประมาณ 1 เดือน ภายหลังจากคณะกรรมการ
เลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในจังหวัดชลบุรี
2. ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ทำาการศึกษา ได้แก่ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งหรือเครือข่ายผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ผู้วิจัย
สามารถเข้าถึงได้ด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัว ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถกำาหนดจำานวนและระบุรายชื่ออย่างเปิดเผยได้
เนื่องจากเป็นข้อตกลงระหว่างผู้วิจัยและผู้ให้สัมภาษณ์ ทั้งนี้ผู้วิจัยจะทำาการสัมภาษณ์ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งหรือ
เครือข่ายผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกเขตเลือกตั้ง อย่างน้อยจำานวน 8 ท่าน ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ จำานวน 2 ท่าน
ตัวแทนบริษัทเอกชน หรือองค์กรอิสระ หรือองค์กรสาธารณะ หรือสื่อมวลชน และองค์กรอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลใน
การเลือกตั้ง ทั้งในระดับประเทศและในระดับเขตจังหวัดชลบุรี จำานวน 2 ท่าน