Page 18 - kpiebook63028
P. 18
17
บรรยากาศทางการเมืองหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ
เกิดการรวมตัวนักการเมืองผู้มีความคิดเห็นการสนับสนุนคณะรัฐประหารให้บริหารประเทศต่อตั้งพรรคการเมือง
ขึ้นมา ซึ่งนักการเมืองเหล่านี้จากพรรคการเมืองที่หลากหลายรวมตัวกันเพื่อการตั้งพรรคการเมืองนี้ ดังปรากฏ
ในรูปแบบการย้ายข้าง การย้ายพรรคการเมืองในช่วงหลังจากประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ครบทั้ง 10 ฉบับ
ด้วยการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางอำานาจ และโครงสร้างของสถาบันการเมืองในช่วงระยะเวลา
8 ปี ที่ผ่านมา จึงเป็นที่จับตามองว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ จะสามารถบรรเทาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาเป็น
ระยะเวลากว่าทศวรรษได้หรือไม่ และจะทำาให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณภาพได้หรือไม่
จะทำาให้การปฏิรูปการเมืองเกิดขึ้นจริงหรือไม่ พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนจะมีการเปลี่ยนแปลงไป
อย่างไร ประชาชนมีการเรียนรู้ทางการเมืองมากขึ้นหรือไม่ และภายใต้กรอบกติกาใหม่นี้ ผลของการเลือกตั้ง
ยังจะยืนยันความตั้งมั่นของระบบพรรคการเมือง หรือความเข้มแข็งของพรรคการเมืองบางพรรคที่เคย
ก่อร่างสร้างตัวมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้หรือไม่
จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดที่มีความสำาคัญในทางเศรษฐกิจของประเทศ ในทางการเมืองระดับประเทศนั้น
ในปัจจุบันจังหวัดชลบุรีแบ่งออกเป็น 8 เขตเลือกตั้ง มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 8 คน ในอดีตที่ผ่านมา
การเมืองในจังหวัดชลบุรี เช่นเดียวกับหลายจังหวัดในประเทศไทยที่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
อยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของตระกูลการเมืองที่สำาคัญ โดยในจังหวัดชลบุรี ตระกูลทางการเมืองที่สำาคัญ
เช่น ตระกูลคุณปลื้ม ตระกูลเนื่องจำานงค์ และตระกูลสิงห์โตทอง ซึ่งทั้งตระกูลการเมืองเหล่านี้มีบารมีทาง
การเมืองทั้งในการเมืองระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น สืบเนื่องมาถึงสมาชิกในตระกูลช่วงชั้นอายุที่สอง
(Second Generation) นักการเมืองในสังกัดตระกูลการเมืองเหล่านี้มีความเป็นพวกมากกว่าความเป็นพรรค
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปที่ผ่านมา กลุ่มตระกูลการเมืองเหล่านี้ ได้ย้าย
สังกัดพรรคการเมืองไปยังพรรคต่าง ๆ รวมถึงสร้างพรรคการเมืองขึ้นมาเอง ซึ่งประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงใน
จังหวัดชลบุรีต่างให้การสนับสนุนนักการเมืองเหล่านี้ ดังผลการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2544 2548 และ 2554
เป็นต้น
การเลือกตั้งในครั้งนี้ นักการเมืองจากกลุ่มตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรี ต้องปรับตัวให้เข้ากับ
การเลือกตั้งภายใต้ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ประกอบกับกระแสการเมืองที่มีการแข่งขันกันในทางการเมือง
ระดับประเทศ ซึ่งส่งผลต่อทั้งพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ลงคะแนนเสียง และพฤติกรรมในการหาเสียง
ของผู้สมัครแตกต่างจากเดิม ท่ามกลางการกำากับการบริหารจัดการการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มีภาคส่วนต่าง ๆ ทางสังคม การเลือกตั้งในครั้งนี้ ถือเป็นการต่อสู้ระหว่างกระแสทางการเมืองในระดับประเทศ
กับระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองแบบเดิม ซึ่งจะเป็นการสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ทางการเมืองแบบใหม่ในจังหวัด
ชลบุรี ให้เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และอย่างไร