Page 184 - kpiebook63028
P. 184

183








                  และ 8 ในภาพรวมเป็นแบบผสมผสาน โดยมีรูปแบบการลงคะแนนตามเครือข่ายทางการเมือง หรือจงรักภักดี

                  กับระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองมากที่สุด พฤติกรรมการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี เขต 5 6 7
                  ในภาพรวม เป็นไปแบบผสมผสานรูปแบบที่ ใกล้เคียงกัน คือ รูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ตัดสินใจเลือก

                  และลงคะแนนตามแนวนโยบายหรือกระแสการเมืองในระดับประเทศ โดยมีหัวหน้าพรรคการเมืองเป็นหลัก
                  กับรูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่มีลงคะแนนตามเครือข่ายทางการเมือง หรือจงรักภักดีกับระบบอุปถัมภ์

                  ทางการเมือง ในขณะที่นักการเมืองที่ย้ายพรรคในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีทั้งที่ประสบความสำาเร็จและประสบ
                  ความล้มเหลว








                  อภิปรำยผล



                          ในการวิจัยครั้งนี้ บรรยากาศในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้รับผลกระทบจากบรรยากาศ

                  ทางการเมืองในระดับประเทศ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงกติกาในการเลือกตั้ง มีการนำาระบบการเลือกตั้ง

                  แบบจัดสรรปันส่วนผสม เข้ามาใช้ ซึ่งผลจากการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับแนวคิดของ ชนิดาภา มงคลเลิศลพ
                  (2559) ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เหมาะสมกับประเทศไทย: ศึกษากรณีระบบการเลือกตั้งแบบ
                  สัดส่วนผสม โดยพบว่าในระบบการเลือกตั้งแบบนี้ พรรคการเมืองใหญ่จะได้เปรียบพรรคการเมืองที่มีขนาดเล็ก

                  ซึ่งพรรคการเมืองขนาดใหญ่มีศักยภาพในการดึงตัวผู้สมัคร จึงเกิดการดึงตัวผู้สมัครจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ใน

                  ด้านการรวมตัวกันของพรรคเมืองและเครือข่ายพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเฉพาะพรรคการเมือง
                  ขนาดใหญ่ เป็นในแบบระบบอุปถัมภ์ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ประทุมมารถ สุจริต (2558) ศึกษาเรื่อง
                  ระบบอุปถัมภ์ในการเลือกตั้งท้องถิ่น และ นริศร ปิวะศิริ (2558) ที่ศึกษาเรื่อง บทบาทของกำานันผู้ใหญ่บ้าน

                  ที่มีผลต่อการได้รับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ในด้านการหาเสียงเลือกตั้ง พบว่า

                  พรรคอนาคตใหม่ได้นำารูปแบบการหาเสียงแบบใหม่มาใช้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งประสบความสำาเร็จ ผลที่ได้
                  จากการวิจัย สอดคล้องกับงานวิจัยของ ลลิตพรรณ นุกูลวัฒนวิชัย (2559) ศึกษาเรื่อง การตลาดทางการเมือง :
                  ศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้ง

                  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556  ส่วนความสำาเร็จของ พรรคอนาคตใหม่ พรรคพลังประชารัฐ และ

                  ความล้มเหลวของพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ นั้น ผลจากการวิจัยสอดคล้องกับ บุรฉัตร พานธงรักษ์
                  (2555) ศึกษาเรื่อง การตลาดการเมืองของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่
                  3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 วิทยานิพนธ์เรื่อง “การตลาดการเมืองของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์”
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189