Page 182 - kpiebook63028
P. 182
181
สภาผู้แทนราษฎร มีเครือข่ายการจัดตั้งคะแนนการเลือกตั้งอย่างเข้มข้นในเขตการเลือกตั้ง รูปแบบการเลือกตั้งนี้
ผู้สมัครมักไม่เน้นนโยบายของพรรคมากนัก แต่เน้นความสำาคัญกับเครือข่ายนักการเมืองท้องถิ่น และเครือข่าย
กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเครือข่ายนี้มีความสัมพันธ์ต่อกันแบบการจัดสรรผลประโยชน์ในรูปแบบงบประมาณของ
ท้องถิ่นเป็นหลัก เลือกตั้งสูง และจะขาดประสิทธิภาพเมื่อมีกระแสความนิยมในพรรคของผู้สมัครในระดับชาติ
ขาดความน่าเชื่อถือ สอง พรรคอนาคตใหม่ ใช้รูปแบบการหาเสียงที่เน้นนโยบายพรรคการเมืองอย่างเข้มข้น
รูปแบบการหาเสียงแบบนี้เกิดขึ้นในพรรคการเมืองที่จัดตั้งใหม่ หรือไม่ใช่พรรคที่เกิดขึ้นหรือเติบโตในพื้นที่ของ
ผู้สมัคร กล่าวคือ ไม่ใช่พรรคท้องถิ่นนิยม ขาดเครือข่ายหัวคะแนนในเขตการเลือกตั้ง หรือมีเครือข่ายการเมือง
ท้องถิ่นที่ไม่เข้มแข็งเพียงพอ มีเงินทุนในการหาเสียงเลือกตั้งน้อย ผู้สมัครที่ใช้รูปแบบการหาเสียงนี้จะต้อง
อาศัยสื่อเป็นหลัก โดยเฉพาะสื่อมวลชนและสื่อสังคมสมัยใหม่ ในการนำานโยบายของพรรคไปขยายความสู่
ประชาชน หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สาม รูปแบบการหาเสียงที่เน้นตัวบุคคลผู้สมัครในเขตการเลือกตั้งอย่างเข้มข้น
การหาเสียงแบบนี้เกิดขึ้นกับผู้สมัครที่มาจากพรรคการเมืองขนาดเล็กที่ขาดเงินทุนในการหาเสียง รูปแบบ
การหาเสียงแบบนี้ ผู้สมัครที่เป็นบุคคลพอมีชื่อเสียงในพื้นที่ เช่น เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักการเมือง
ท้องถิ่น ข้าราชการครู เป็นต้น ผู้สมัครจะได้รับเป้าหมายคะแนนจากพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง ทั้งนี้ภายใต้
ระบบการคำานวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบใหม่ จะมีการสะสมคะแนนเพื่อนำาไปคำานวณคะแนนเสียง
รวมทั้งประเทศ สี่ พรรคเสรีรวมไทย พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคชาติพัฒนา ใช้รูปแบบการหาเสียงที่
เน้นตัวบุคคลที่เด่นดังในพรรคอย่างเข้มข้น การหาเสียงแบบนี้เกิดขึ้นกับผู้สมัครที่มาจากพรรคการเมืองขนาดเล็ก
เป็นพรรคการเมืองเกิดใหม่ที่ขาดเงินทุนในการหาเสียง รูปแบบการหาเสียงแบบนี้ ผู้สมัครซึ่งบางครั้ง
ไม่เป็นที่รู้จักของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะลงสมัครเพื่อให้ปรากฏเบอร์ในบัตรเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ลงคะแนน
ผู้ลงคะแนนจะลงให้เนื่องจากความเด่นดังของบุคคลสำาคัญในพรรค มากกว่านโยบายพรรคการเมือง ทั้งนี้
ภายใต้ระบบการคำานวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบใหม่ จะมีการสะสมคะแนนเพื่อนำาไปคำานวณคะแนนเสียง
รวมทั้งประเทศ
3. ศึกษาผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี เป็นรายพรรคและรายเขตเลือกตั้ง
ซึ่งปรากฏในบทที่ 7 โดย ในภาพรวมทั้งจังหวัดชลบุรี พรรคพลังประชารัฐได้รับเลือกจำานวน 5 คน
พรรคอนาคตใหม่ได้รับเลือกจำานวน 3 คน คะแนนรวมทั้งจังหวัด พรรคพลังประชารัฐได้ 300,329 คะแนน
พรรคอนาคตใหม่ได้ 217,941 คะแนน พรรคภูมิใจไทยได้ 68,371 คะแนน พรรคประชาธิปัตย์
ได้ 58,056 คะแนน พรรคเพื่อไทยได้ 57,025 คะแนน ผลการเลือกตั้งสรุปได้ว่า พรรคพลังประชารัฐได้รับ
เลือกในเขตเลือกตั้งที่ 1, 2, 3, 4, และ 8 ในขณะที่พรรคอนาคตใหม่ได้รับเลือกในเขตเลือกตั้งที่ 5, 6, และ 7
เขตการเลือกตั้งที่ 1 นายสุชาติ ชมกลิ่น จากพรรคพลังประชารัฐ ชนะด้วยคะแนน 38,268 คะแนน ในขณะที่
นางสาวปิยะพร ธนาปิ่นชัย จากพรรคอนาคตใหม่ ได้ที่สอง 27,430 คะแนน เขตการเลือกตั้งที่ 2 ร้อยเอก จองชัย
วงศ์ทรายทอง จากพรรคพลังประชารัฐ ชนะด้วยคะแนน 42,427 คะแนน ในขณะที่ นายนิพนธ์ แจ่มจำารัส
จากพรรคอนาคตใหม่ ได้ที่สอง 21,147 คะแนน และนายมานิตย์ ภาวสุทธิ์ จากพรรคภูมิใจไทย ได้ที่สาม
20,853 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 3 นายรณเทพ อนุวัฒน์ จากพรรคพลังประชารัฐชนะด้วยคะแนน
54,644 คะแนน โดย นายภูวนารถ กาศสกุล จากพรรคอนาคตใหม่ ได้ที่สอง ได้ 15,038 คะแนน