Page 181 - kpiebook63028
P. 181
180 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี
ข้อสรุปผลกำรวิจัยตำมแนววัตถุประสงค์
1. บรรยากาศทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรและกลุ่มทางการเมืองที่
เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี ซึ่งปรากฏในบทที่ 5 พบว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้
อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ทำาให้กติกาการเลือกตั้งฯ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยเฉพาะ
ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่เป็น “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม” มีการชักจูง ให้อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ
อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในหลายจังหวัด มีการตั้งพรรค
พลังประชารัฐ รวมถึงการตั้งพรรคไทยรักษาชาติ โดย แกนนำาพรรคเพื่อไทย ส่วนหนึ่งลาออกจากพรรคเพื่อไทย
และย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญ มีคำาสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ
ปรากฏการณ์การเกิดขึ้นและสิ้นสุดลงในระยะเวลาอันสั้นของพรรคไทยรักษาชาติ เกิดขึ้นในช่วง
ที่มีการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีผลต่อการถ่ายเทคะแนน (Transfer Vote) ไปสู่
พรรคการเมืองอื่น และ การเลือกตั้งครั้งนี้ จำานวน “ผู้เลือกตั้งหน้าใหม่” หรือ First Time Voters มากถึง
6,426,014 คน สื่อสังคม หรือ Social Media ในทางการเมืองเป็นสื่อหลักของการหาเสียงครั้งนี้ มีการเปลี่ยน
รูปแบบการหาเสียงเปลี่ยนไป มีการใช้ “Media Landscape” ของการสื่อสารพรรคการเมืองอย่างมาก
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของบรรยากาศการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป
ของจังหวัดชลบุรี กลุ่มการเมืองที่สำาคัญ คือ กลุ่มบ้านใหญ่ หรือพรรคพลังชล กลุ่มผู้สมัครเดิมของพรรค
ประชาธิปัตย์ กลุ่มพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักษาชาติ พรรคอนาคตใหม่
และกลุ่มพรรคอื่น การเลือกตั้งจังหวัดชลบุรี พรรคประชารัฐ มีความเข้มแข็งทางการเมืองมากที่สุด สามารถนำา
กลุ่มการเมืองใหญ่ คือ กลุ่มบ้านใหญ่และกลุ่มเนื่องจำานงค์ มารวมกันได้ ในขณะที่พรรคอนาคตใหม่ ในช่วงแรก
ของการลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่เป็นที่สนใจจากบรรดาคอการเมืองในจังหวัดชลบุรีมากนัก ผู้สมัครในสังกัดพรรค
ทั้ง 8 เขต ไม่เป็นที่รับรู้มากนัก พรรคภูมิใจไทย อยู่ภายใต้กระแสดึงกลุ่มนักการเมืองเดิมที่เคยประสบความสำาเร็จ
ในการเลือกตั้งครั้งก่อนของจังหวัดชลบุรี ทั้งใน ปี 2554 ก็ดี ปี พ.ศ. 2544 ก็ดี หรือ ปี พ.ศ. 2548 ก็ดี
จากหลายพรรคการเมือง พรรคเพื่อไทย มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จากการที่มีการตั้งพรรคไทยรักษาชาติ
ส่งผลให้พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครเพียง 4 เขตเลือกตั้ง พรรคไทยรักชาติมีการวางตัวผู้สมัคร 4 เขต คือ เขต 5 – 8
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์เจอปัญหาแพแตก นักการเมืองระดับ อดีตสมาชิกสภาแทนราษฎรชลบุรี
ย้ายค่ายออกจากพรรคเกือบหมด
2. ความเคลื่อนไหว และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรในจังหวัด
ชลบุรี ช่วงการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งปรากฏในบทที่ 6 ผู้วิจัยขอสรุปรูปแบบการหาเสียง
เป็นหลัก 4 รูปแบบ โดยมีการอธิบายประกอบในแต่ละหัวข้อ ดังนี้ หนึ่ง พรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทย
พรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคภูมิใจไทย ใช้รูปแบบการหาเสียงที่เน้นผู้สมัครมาจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่
ที่มีเงินทุน และใช้ระบบหัวคะแนนอย่างเข้มข้น รูปแบบการหาเสียงแบบนี้เกิดขึ้นจากการที่ผู้สมัครสมาชิก