Page 61 - kpiebook63023
P. 61
61
กำรทบทวนและปรับปรุงโครงสร้ำงของกำรปกครองท้องถิ่น
ให้มีควำมเหมำะสมกับภำรกิจใหม่
เมื่อมีการถ่ายโอนภารกิจใหม่มาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว อาจมีความจำาเป็นที่จะต้อง
ทบทวนถึงโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขนาดและ
ศักยภาพที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น การถ่ายโอนภารกิจมาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมส่งผลทำาให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับผิดชอบการจัดทำาบริการสาธารณะที่มีความสำาคัญและอาจจำาเป็นต้องใช้ทรัพยากร
เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ มีขนาดที่ไม่เหมาะสมแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นั้นอาจไม่มีศักยภาพที่เพียงพอ เช่น มีงบประมาณไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในสาขา
ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้นๆ เป็นต้น
ประสบการณ์จากบางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่าภายหลังจากการตัดสินใจ
ในการถ่ายโอนภารกิจของรัฐมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว จำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงและ
ปฏิรูปในเชิงโครงสร้างให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ต้องดำาเนินการให้เกิดการควบรวม (Amalgamation)
เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขนาดและศักยภาพที่เหมาะสมมากขึ้นในการรับผิดชอบภารกิจใหม่ที่
ได้ถ่ายโอนลงมายังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Mabuchi, 2001)
กำรแก้ไขปรับปรุงกฎหมำยที่เกียวข้อง
นอกเหนือจากการปรับปรุงในเชิงโครงสร้างแล้ว การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถจัดทำา
บริการสาธารณะใหม่ที่มีการถ่ายโอนมาได้อย่างสมบูรณ์นั้น บางครั้งยังต้องมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ด้วย เพราะหากไม่มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายนั้นๆ แล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจไม่มีอำานาจหน้าที่
ในการบริหารจัดการภารกิจที่มีการถ่ายโอนลงมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำาให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นไม่สามารถบริหารจัดการบริการสาธารณะที่ถ่ายโอนมานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การแก้ไขปรับปรุง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้นๆ จึงเป็นสิ่งที่มีความจำาเป็น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัด
บริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม เพราะเพียงแค่การถ่ายโอนภารกิจของส่วนราชการ
สู่ท้องถิ่นไม่สามารถถือเป็นความสำาเร็จของการกระจายอำานาจได้ (วุฒิสาร ตันไชย, 2554, น. 38-40)