Page 28 - kpiebook63020
P. 28

ผลการพัฒนาไปสู่การดำเนินการบริการสาธารณะในด้านอื่นๆ อาทิ สร้าง CG (Care Giver)
               ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย เพื่อช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนให้ดี
               ขึ้นต่อไป

                     นอกจากนี้ ศูนย์นครภูเก็ตปันน้ำใจสร้างสุขดำเนินงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของทั้งภาค

               รัฐ เอกชนและประชาชน ในการร่วมแก้ไขปัญหาภายในชุมชนโดยอาศัยความรู้ความสามารถ
               ของคนในชุมชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน
               โดยการจัดให้ผู้บริจาคได้มอบสิ่งของให้ผู้รับบริจาคโดยตรง และเผยแพร่ภาพการรับมอบตาม

               สื่อช่องทางต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสในการให้ความช่วยเหลือ ก่อเกิดความศรัทธา
               เครือข่ายต่างๆ และจิตอาสาจึงเข้ามาร่วมกันช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมต่างๆ เกิดเป็นสังคม
               ที่เอื้ออาทรต่อกัน

                     การดำเนินการดังกล่าวยังเป็นแบบอย่างให้แก่หน่วยงานอื่น ๆ เช่น เทศบาลตำบลวิชิต

               เทศบาลตำบลรัษฎา เทศบาลตำบลฉลอง เทศบาลตำบลราไวย์ และโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
               ฯลฯ จนเกิดความร่วมมือระหว่างกัน โดยได้มีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ในการยืม-คืน
               อุปกรณ์ทางการแพทย์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ประกอบด้วย เทศบาลตำบล
               รัษฎา เทศบาลตำบลวิชิต เทศบาลตำบลศรีสุนทร และเทศบาลตำบลฉลอง


               การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองเก่าภูเก็ตด้วยวิถีชุมชน  นักสร้างสรรค์ท้องถิ่น

                     เมื่อพูดถึงภูเก็ตคนจะนึกถึงสถานท่องเที่ยวทางทะเล หมู่เกาะต่าง ๆ นักท่องเที่ยว

               โดยส่วนใหญ่จะเพียงแค่เดินทางผ่านตัวเมืองไปยังชายทะเล ทำให้เศรษฐกิจในตัวเมืองซบเซา
               แต่ภูเก็ตไม่ได้มีดีแค่ทะเล ยังมีย่านเมืองเก่าภูเก็ตที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์
               โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปียนในเขตเมืองเก่า อาหารพื้นเมืองภูเก็ต
               ที่มีการผสมผสานจากหลากหลายชาติและหาทานที่ไหนไม่ได้ และการแต่งกายพื้นเมือง

               ที่มีเอกลักษณ์สวยงาม จึงเกิดแนวคิดนำทุนวิถีวัฒนธรรม “อาคาร อาหาร อาภรณ์” มาเป็น
               ตัวชูโรงหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองเก่า เป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนการพัฒนา
               ย่านภูเก็ตเมืองเก่า  ที่ประชาชนในพื้นที่เข้ามาร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ
               พัฒนาย่านเมืองเก่า ผ่านกิจกรรมการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและ

               การจัดงานมหกรรมต่าง ๆ ในย่าน จนทำให้ชุดพื้นเมืองภูเก็ตได้รับการประกาศขึ้นบัญชี
               มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ต่อมาอาคารสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปียนในเขตเมืองเก่า
               ได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นจากชมรมสถาปนิกสยามฯ และล่าสุดเทศบาลนครภูเก็ตได้รับ
               การประกาศเป็นเมือง City Of Gastronomy  ทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในเมือง




             รางวัลพระปกเกล้า  63
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33