Page 97 - kpiebook63014
P. 97

96     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






             “เน้นทำาไม่เน้นพูด” “คนอื่นเป็นรัฐบาล ทหารก็ยังมีเหมือนเดิม”  เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มนี้

             กลับไม่ปรากฏเมื่อประชาชนมีคนที่ตนเองต้องการเลือกในใจอยู่แล้ว สำาหรับประชาชนเหล่านี้เมื่อสอบถามว่า
             จะเลือกพรรคการเมืองใด ก็จะมีคำาตอบว่าจะ “เลือกพรรคฝ่ายประชาธิปไตย” และเห็นว่าบรรดานโยบาย

             แจกที่ดำาเนินการโดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนโยบายที่เอื้อให้กับบรรดาร้านค้าที่เข้าร่วม
             โครงการร้านธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งส่งผลต่อร้านค้าปลีกรายอื่นๆ


                      ในส่วนของคนรุ่นใหม่ ในจังหวัดสุรินทร์ แม้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรก

             ของคนรุ่นใหม่หลายคน แต่จากการสัมภาษณ์คนรุ่นใหม่กลับพบว่าไม่ได้รู้สึกตื่นเต้น สิ่งที่ปรารถนาของ
             บรรดาคนรุ่นใหม่คือ ต้องการให้การเลือกตั้งครั้งนี้นำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ได้ผู้นำาที่มีความคิด

             มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ “จะเลือกผู้นำาคนใหม่ๆ เนื่องจากเราเป็นคนรุ่นใหม่ ไม่อยากฝากชีวิต
             และอนาคตไว้กับคนแก่” รัฐบาลปัจจุบันพวกเราเห็นผลงานแล้ว อยากเปลี่ยนดูบ้าง ให้โอกาสคนรุ่นใหม่

             ถ้าไม่สำาเร็จก็ค่อยว่ากัน เลือกใหม่อีกก็ได้

                      3) ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วน  ระบบการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2562 มี ส.ส.จาก 2 ระบบ

             คือ ระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และระบบบัญชีรายชื่อ แต่จะใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวให้ประชาชนกากบาทเลือก

             บุคคลที่ชื่นชอบเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขตโดยผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในเขตเลือกตั้งนั้นๆ จะเป็น ส.ส.เขตนั้น
             คะแนนจากการเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขตของแต่ละพรรคการเมืองมารวมกันทั้งประเทศ และใช้สูตร
             การคำานวณที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 91 และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย

             การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 มาตรา 128 มาคำานวณสัดส่วนของ ส.ส.บัญชีรายชื่อที่

             แต่ละพรรคการเมืองจะได้รับการจัดสรรปันส่วนให้ครบ 150 คน จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ทั้งผู้สมัคร
             รับเลือกตั้งและประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า บัตรเลือกตั้ง 1 ใบที่ใช้เลือกทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชี
             รายชื่อ ประชาชนเข้าใจว่าจะต้องลงคะแนนเสียงอย่างไร ซึ่งการตัดสินใจลงคะแนนเสียงจะเลือกที่

             ตัวผู้สมัครเป็นหลัก อย่างไรก็ตามมีข้อคิดเห็นว่าบัตรเลือกตั้ง 1 ใบ ทำาให้ตัดตัวเลือกให้การตัดสินใจที่จะ

             “เลือกคนที่ชอบ เลือกพรรคที่ใช่” เพราะประชาชนอาจมีคนที่ชอบแต่อยู่คนละพรรคกับพรรคการเมือง
             ที่ตนเองเห็นว่าควรได้รับการจัดตั้งรัฐบาล นอกจากนั้นจากการสัมภาษณ์ยังพบว่า บทบาทของสำานักงาน
             คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุรินทร์ในการให้ความรู้ระบบการเลือกตั้งใหม่แก่ประชาชนยังมี

             ค่อนข้างน้อย
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102