Page 96 - kpiebook63014
P. 96
95
ภ�พที่ 5.2 บรรย�ก�ศก�รลงพื้นที่ปร�ศรัยห�เสียงของน�ยปกรณ์ มุ่งเจริญพร
จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ประชาชน ผู้สมัครรับเลือกตั้งและทีมงานของพรรคการเมือง
เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมือง พบว่า
1) การใช้เงินซื้อเสียง กรณีการหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง วันที่ 24 มีนาคม 2562 จังหวัดสุรินทร์
ยังไม่พบรูปธรรมการใช้เงินซื้อเสียงอย่างชัดเจน จะปรากฏเพียงการสัมภาษณ์ทีมงานผู้สมัครพรรคเพื่อไทย
และพรรคภูมิใจไทยที่ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
สนับสนุนมีการจ่ายเงินแต่ไม่สามารถระบุหลักฐานได้ชัดเจน ส่วนการซื้อเสียงโดยการให้สิ่งของหรือ
แลกเปลี่ยนผลประโยชน์อื่น พบได้น้อย ที่น่าสนใจสำาหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ในจังหวัดสุรินทร์ จากการ
สัมภาษณ์หมู่บ้านหนึ่งในตำาบลนาดี พบว่าเกิดปรากฏการณ์การซื้อเสียงเชิงนโยบาย กล่าวคือประชาชน
ทั่วไปลังเลในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่เป็น ส.ส.เก่ากับ ผู้สมัครที่มาจากพรรคพลังประชารัฐ เนื่องจาก
เกรงว่าหากไม่เลือกพรรคการเมืองที่สืบทอดอำานาจจะทำาให้บรรดานโยบาย “ประชารัฐ” ไม่ว่าจะเป็น
บัตรสวัสดิการคนจน การจ่ายชดเชยให้แก่เกษตรกรทั้งค่าไถ่ ค่าเก็บเกี่ยว จะไม่ได้ดำาเนินการนโยบาย
เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นส่วนที่ทำาให้หลายคนหันมาเลือกพรรคการเมืองที่คาดว่าจะสานต่อนโยบาย
“ประชารัฐ” นอกจากนั้นเมื่อพรรคการเมืองปราศรัยหาเสียง จะมีการระดมประชาชนไปฟัง โดยมีการจ่าย
ค่านำ้ามันให้คนละ 100 บาท เป็นต้น
2) ความตื่นตัวในการเลือกตั้ง จากการสัมภาษณ์ประชาชนบางหมู่บ้านในเขตเลือกตั้ง 2 4
และ 5 มีความตื่นตัวในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการติดตามข่าวสารอย่างกว้างขวางทั้งจากสื่อมวลชน และ
สื่อออนไลน์ พบแนวโน้มที่น่าใจ สำาหรับประชาชนที่อยู่ในวัยกลางคนค่อนไปในอายุ 50 ปีขึ้นไป มีทัศนะ
ทางการเมืองค่อนข้างอนุรักษ์นิยม กล่าวคือเกรงว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายที่กำาลังดำาเนินการโดย
รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จึงทำาให้การตอบคำาถามจึงวางอยู่บนฐานความลังเล เช่น เมื่อถามว่าจะเลือกใคร
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ คำาตอบที่พบคือ “เลือกคนที่แก้ปัญหาปากท้องประชาชน” “ไม่สร้างความขัดแย้ง”