Page 95 - kpiebook63014
P. 95
94 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดสุรินทร์
การลดเขตเลือกตั้งจาก 8 เขตเหลือ 7 เขตในการเลือกตั้งปี 2562 ส่งผลให้เกิดความเสียเปรียบ
แก่บรรดาผู้สมัครที่เคยเป็น ส.ส. เก่าในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเลือกตั้งที่ 1 ซึ่งจากการสัมภาษณ์
ผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทยเขต 1 ซึ่งมีหน่วยเลือกตั้ง 21 หน่วย โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้มี 10 หน่วยที่เป็น
พื้นที่ใหม่ ซึ่งทำาให้ต้องลงพื้นที่ใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนได้รู้จักผู้สมัคร หากพิจารณาจากข้อมูล
ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งที่ได้รับการรับรองจากสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุรินทร์
จะเห็นได้ว่าจำานวนเงินที่ทั้ง 4 พรรคการเมืองอันประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรค
พลังประชารัฐ และพรรคอนาคตใหม่ ต่างทุ่มงบประมาณในเขตเลือกตั้งที่ 1 อยู่ในลำาดับต้นๆ ของค่าใช้จ่าย
ที่เกิดขึ้นในเขตเลือกตั้งอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ส.เก่าเจ้าของพื้นที่อย่างนายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ซึ่งเป็น
ผู้สมัครที่ใช้จ่ายเพื่อการรณรงค์หาเสียงมากที่สุดของพรรคภูมิใจไทยและสามารถรักษาฐานเสียงของตนเอง
ไว้ได้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงสอดคล้องกับข้อมูลการสัมภาษณ์นายปกรณ์ ที่ระบุว่าตนเองและทีมงานต้อง
ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพราะในเขตเลือกตั้งใหม่มีหน่วยเลือกตั้ง 10 หน่วยที่เป็นพื้นที่ใหม่ หรือในกรณี
ตำาบลโพนโก อำาเภอสนม ซึ่งในการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 อยู่ในเขต 3 แต่ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม
2562 ขยับมาเป็นเขต 4 กับอำาเภอท่าตูม ซึ่งผู้ใหญ่บ้านแห่งหนึ่งในตำาบลโพนโก กล่าวว่าการเปลี่ยน
เขตเลือกตั้งทำาให้ประชาชนไม่รู้ว่าจะเลือกใคร เพราะไม่คุ้นเคยกับการอยู่ในเขตเลือกตั้งใหม่
ในส่วนของการลงพื้นที่ปราศรัยหาเสียงจากสัมภาษณ์ประชาชนทั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 4 และ 5
พบว่ามีพรรคการเมืองที่ครองที่นั่งมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งที่แล้วคือ พรรคเพื่อไทย มีคณะกรรมการ
ยุทธศาสตร์พรรคคือคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่เปิดเวทีปราศรัยหาเสียงอำาเภอเมือง ท่าตูม และ
จอมพระ เพื่อช่วยผู้สมัครในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ ส่วนพรรคการเมืองอื่นไม่ว่าพรรคภูมิใจไทย พรรค
พลังประชารัฐ และพรรคอนาคตใหม่ ต้องอาศัยกลยุทธ์การให้ผู้สมัครไปลงพื้นที่เปิดปราศรัยในพื้นที่ที่เป็น
ฐานเสียงของตนเองอย่างต่อเนื่อง ผู้สมัครพรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 2 อาศัยการลงพื้นที่ไปร่วมงาน
ต่างๆ กับประชาชนอย่างสมำ่าเสมอ ผู้สมัครพรรคภูมิใจไทยเขต 1 อาศัยกิจกรรมลงพื้นที่ด้วยการเปิดเวที
ปราศรัยโดยมีตารางนัดตั้งแต่เช้าจนคำ่า เพื่อแถลงนโยบายพรรคและผลงานที่ดำาเนินการอย่างสมำ่าเสมอ
ในช่วงระยะเวลาที่ว่างเว้นจากการเลือกตั้ง ส่วนผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 4 ใช้การเดินตรง
เข้าไปทุกบ้านเพื่อหาเสียงในลักษณะแบบ direct sale ประเด็นที่น่าสนใจจากการสัมภาษณ์และลงพื้นที่
ติดตามการปราศรัยของผู้สมัครรับเลือกตั้ง พบว่ามีการใช้ยุทธวิธีในการสร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
ด้วยการปราศรัยเป็นภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร และชาติพันธุ์กวย ซึ่งทำาให้เกิดบรรยากาศของความ
เป็นพวกเดียวกัน แม้ว่าผู้สมัครในเขตเมืองหลายคนจะมีเชื้อสายคนจีนก็ตาม ความได้เปรียบในเชิงภาษา
จึงเป็นปัจจัยที่สำาคัญในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง