Page 112 - kpiebook63014
P. 112
111
ในขณะเดียวกันพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นนักการเมืองท้องถิ่นส่งผลต่อการแพ้ชนะ
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ของจังหวัดสุรินทร์ กล่าวคือนักการเมืองท่านนั้นสามารถยึดครองที่นั่งจากสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรในสมัยที่แล้วมาได้ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในเขตเลือกตั้งที่ 2 ที่นายณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์
ซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่น โดยก่อนลงรับสมัครเลือกตั้งเคยทำาหน้าที่ในฐานะที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเมือง
สุรินทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 จนก่อนลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งสอดคล้องกับงานศึกษาของเวียงรัฐ เนติโพธิ์
(2558, 88) มีการพึ่งพาและเกื้อหนุนกันในการเลือกตั้งระหว่างนักการเมืองระดับชาติกับนักการเมือง
ท้องถิ่นในการสร้างสายสัมพันธ์แบบอาศัยซึ่งกันและกัน แตกต่างจากระบบหัวคะแนนเดิม ที่หัวคะแนน
แบบเดิมคือก�านัน ผู้ใหญ่บ้านที่ความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองก่อนมีการรณรงค์เลือกตั้ง ขณะที่
ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองระดับชาติกับนักการเมืองท้องถิ่นมีความต่อเนื่อง ก่อให้เกิดสายสัมพันธ์
ในลักษณะเครือข่ายที่ชัดเจนมากขึ้น กล่าวคือหากนักการเมืองคนใดมีสายสัมพันธ์กับผู้บริหารองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเลือกตั้งของตน ก็เป็นหลักประกันได้ว่าจะได้รับคะแนนน�าในการเลือกตั้ง
ครั้งต่อไป ดังนั้นการทำางานของนักการเมืองระดับชาติอย่างใกล้ชิดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น
ปัจจัยสำาคัญประการหนึ่งของพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองระดับชาติที่ปรากฏในจังหวัดสุรินทร์
3. การเปลี่ยนของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน และ
กลุ่มการเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์ จากข้อค้นพบ
2 ประการข้างต้น พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมทางการเมืองที่มีลักษณะเกิดระบบอุปถัมภ์
ที่เปลี่ยนแปลงไป จากระบบหัวคะแนนที่อาศัยกำานัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำาที่ไม่เป็นทางการ ในฐานะกลุ่ม
ทุติยภูมิที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทางการเมืองของคนในสังคมชนบทในอดีต แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลง
ในเทคโนโลยีที่ทำาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้วยตนเองได้ ระบบหัวคะแนนแบบเดิมจึง
ทำางานได้ไม่เหมือนเดิม เนื่องจากการเรียนรู้ของประชาชนสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
และนำามาใช้ประกอบการตัดสินใจได้
แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการตัดสินใจเลือกตั้ง ดำารงอยู่บนปัจจัยสำาคัญ
ดังนี้
(1) พรรคการเมืองที่นักการเมืองสังกัด เนื่องจากระบบการเลือกตั้งในปี 2562 เป็นระบบที่
พรรคการเมืองต่างๆ ต้องวางกลยุทธ์ในการกระจายคะแนนให้กับระบบแบ่งสันปัดส่วน ที่เอื้อให้กับ
พรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก ดังนั้นบรรดาพรรคการเมืองใหญ่ เช่น พรรคเพื่อไทย ซึ่งนักการเมือง
ของพรรคสามารถกวาดเสียงที่นั่งในจังหวัดสุรินทร์ โดยที่พรรคตระหนักดีว่าจะไม่สามารถได้ปันส่วนที่นั่ง
ส.ส.มายังระบบบัญชีรายชื่อของพรรคได้ ดังนั้นจึงมีความพยายามสร้างพันธมิตรกับพรรคการเมือง
ขนาดกลางและเล็กที่มีแนวอุดมการณ์ทางการเมืองในทิศทางเดียวกัน