Page 111 - kpiebook63014
P. 111
110 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดสุรินทร์
สวัสดิการเป็นส่วนสำาคัญที่สนับสนุนค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ เช่น การสนับสนุนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
คนในกลุ่มนี้จึงมีแนวโน้มเลือกพรรคการเมืองที่สานต่อนโยบายด้านสวัสดิการที่ดำารงอยู่ในปัจจุบัน
เพราะเกรงว่าหากพรรคการเมืองอื่นจัดตั้งรัฐบาลได้นโยบายสวัสดิการเหล่านี้จะถูกตัดออกจากการ
กำาหนดนโยบาย ดังนั้นหากวิเคราะห์ด้วยแนวคิดวัฒนธรรมการเมือง จะพบว่ามีแบบแผนทางความคิด
ความเชื่อ ความรู้สึกและทัศนคติที่มีต่อระบบการเมืองที่แตกต่างกัน ในลักษณะวัฒนธรรมการเมืองแบบผสม
“วัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบผสมกับการมีส่วนร่วม” ซึ่งมีลักษณะของกลุ่มคนที่มีความรู้สึกต่อการ
ยอมรับอำานาจรัฐที่เอื้อเฟื้อสวัสดิการทางสังคมที่เป็นประโยชน์สำาหรับสภาวะเศรษฐกิจที่ยำ่าแย่ ดังนั้น
จึงไม่อยากเปลี่ยนแปลงอำานาจรัฐเพราะไม่ต้องการให้ผลประโยชน์ของตนสูญเสียไปแม้จะต้องแลกกับ
สิทธิและเสรีภาพทางการเมืองที่ถูกจำากัด กับกลุ่มคนที่ต้องการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนผ่าน
ข้อจำากัดด้านสิทธิเสรีภาพทางการเมือง และมุ่งหวังว่าการเปลี่ยนผ่านนั้นจะนำามาซึ่งความสามารถในการ
มีส่วนร่วมรัฐบาลในการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กับการมีเสรีภาพทางการเมือง
ส่วนกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสภาพการเมืองที่เป็นอยู่ แม้ว่า
กระบวนการกล่อมกลาทางการเมืองที่อิทธิพลอย่างเช่นสถาบันครอบครัว ก็ไม่สามารถที่จะมีอิทธิพลต่อ
การตัดสินใจของคนกลุ่มนี้ได้เหมือนในอดีต ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกล่อมเกลาคนกลุ่มนี้คือบรรดาช่องทาง
การสื่อสารทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารทางโลกออนไลน์ รวมทั้งการมีกลุ่มเพื่อนที่อยู่ในช่วง
วัยเดียวกัน เป็นส่วนสำาคัญในการตัดสินใจในการเลือกตั้ง นอกจากนั้นสิ่งที่พบในการลงพื้นที่สัมภาษณ์
คือภาคกลับของกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง กล่าวคือบรรดากลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์
สามารถกล่อมเกลาบิดา-มารดาของตนให้หันมาตัดสินใจเลือกพรรคที่พวกเขาเห็นว่าจะเป็นอนาคตใหม่
สำาหรับทางออกของสังคมไทย
สำาหรับพฤติกรรมของผู้ลงรับสมัครการเลือกตั้งจังหวัดสุรินทร์ นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี
พ.ศ.2557 บรรดาอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกปิดเส้นทางการเมืองตามระบอบรัฐสภา ต่างกลับมา
ยึดพื้นที่ตนเองอย่างเหนียวแน่น เพื่อให้เกิดความพร้อมในการเลือกตั้งในอนาคตด้วยการยึดครองใจคน
และท้ายที่สุดนำาไปสู่การยึดครองพื้นที่ ในการลงพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งใน
เขตเลือกตั้งที่ 1 ของนายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ปรากฏว่าในช่วงที่เว้นว่างจากสนามเลือกตั้ง สิ่งที่เขาทำาคือ
การทำางานเพื่อตอบแทนสังคม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างค่ายมวยให้เยาวชนในจังหวัดสุรินทร์ผ่านการดำาเนินการ
ภายใต้ชื่อ “ต้นกล้ามวยไทย” โดยได้อำานวยความสะดวกด้านสถานที่และหาผู้ฝึกสอนให้กับบรรดาเยาวชน
ที่ครอบครัวมีฐานะยากจน ให้สามารถพัฒนาฝีมือและออกชกมวยเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว หรือ
การส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อเลี้ยงโคสายพันธุ์วากิวที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคเนื้อวัว
และหาช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรเหล่านั้น งานพัฒนาเหล่านี้คือส่วนสำาคัญที่หล่อเลี้ยงระบบ
อุปถัมภ์ ซึ่งเป็นการอุปถัมภ์ที่ไม่ใช่การรอรับจากผู้อุปถัมภ์ในแบบเดิมๆ แต่การสร้างเติบโตทางเศรษฐกิจ
ไปพร้อมๆ กับการสร้างสายสัมพันธ์ทางการเมือง