Page 106 - kpiebook63014
P. 106

105








                  ทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัครที่มาจากพรรคเพื่อไทย เนื่องจากผลงานในช่วงของการเป็นรัฐบาล

                  ของพรรคเพื่อไทยในอดีตที่ผ่านมา ที่สามารถสร้างแนวทางที่หลากหลายในการยกระดับทางเศรษฐกิจให้
                  เกิดขึ้นในระดับล่างได้ รวมทั้งนโยบายทางเศรษฐกิจที่เน้นปากท้องของพี่น้องประชาชนที่เป็นรูปธรรม

                  ของพรรคเพื่อไทย เป็นส่วนที่ทำาให้ประชาชนที่ชื่นชอบในนโยบายเศรษฐกิจตัดสินใจเลือกพรรคเพื่อไทย


                          การสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ พบว่าสำาหรับประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                  ผู้สูงอายุ มีแนวโน้มการเลือกพรรคพลังประชารัฐซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีรัฐบาลในขณะนั้นสนับสนุน

                  อยู่ เพราะเกรงว่าบรรดานโยบายประชารัฐ การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ การเพิ่มเงินค่าตอบแทนแก่ อสม. เป็น
                  นโยบายที่ประชาชนได้ประโยชน์ หากเลือกพรรคพลังประชารัฐเข้าไปก็จะเป็นการต่อยอดนโยบายของ

                  รัฐบาลต่อไปได้ เกรงว่าหากเลือกพรรคการเมืองอื่นเข้าไปเป็นรัฐบาลจะทำาให้นโยบายที่เป็นประโยชน์
                  กับพวกเขาจะถูกยกเลิกหรือถูกเปลี่ยนแปลง


                          ขณะที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ มีแนวโน้มที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ไม่อยากได้ทั้งพรรคเพื่อไทย และ
                  พรรคพลังประชารัฐ ต้องการทดลองเลือกพรรคการเมืองใหม่ที่เป็นทางเลือกสำาหรับอนาคตของพวกเขา

                  ดังนั้นจากการสัมภาษณ์บรรดาคนรุ่นใหม่พวกเขาเห็นว่า “จะเลือกผู้นำาคนใหม่ๆ เนื่องจากเราเป็นคนรุ่น

                  ใหม่ ไม่อยากฝากชีวิต อนาคตไว้กับคนแก่ รัฐบาลปัจจุบัน หรือนักการเมือง เราเห็นผลงานมาแล้ว ดีไม่
                  พอ อยากให้เปลี่ยนดูบ้าง ให้โอกาสคนรุ่นใหม่ ถ้าไม่สำาเร็จก็ค่อยว่ากัน เลือกใหม่อีกก็ได้”


                          เมื่อพิจารณาจากทัศนคติในการเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ สามารถวิเคราะห์ได้ว่า
                  นโยบายพรรคการเมืองมีผลต่อการตัดสินใจว่าประชาชนจะเลือกพรรคการเมืองใด แม้ว่าผลการเลือกตั้ง

                  พรรคเพื่อไทยจะสามารถชนะการเลือกตั้งได้ถึง 5 เขตเลือกตั้ง แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดของคะแนน
                  เสียงที่พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย และพรรคอนาคตใหม่ พบว่าได้รับคะแนนเสียงอยู่ในระดับที่

                  2-4 ดังนี้ เขตเลือกตั้งที่ 3 ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียง 29,254 เสียง ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐได้
                  คะแนนเสียง 28,492 เสียง ผู้สมัครพรรคภูมิใจไทยได้คะแนนเสียง 18,408 เสียง ผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่

                  ได้คะแนนเสียง 8,698 เสียง เขตเลือกตั้งที่ 4 ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียง 34,673 เสียง ผู้สมัคร
                  พรรคภูมิใจไทยได้คะแนนเสียง 27,411 เสียง ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐได้คะแนนเสียง 15,771 เสียง

                  ผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่ได้คะแนนเสียง 11,624 เสียง เขตเลือกตั้งที่ 5 ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยได้คะแนน
                  เสียง 45,681 เสียง ผู้สมัครพรรคภูมิใจไทยได้คะแนนเสียง 14,917 เสียง ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐ

                  ได้คะแนนเสียง 13,976 เสียง ผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่ได้คะแนนเสียง 10,863 เสียง เขตเลือกตั้งที่ 6
                  ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียง 23,401 เสียง ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐได้คะแนนเสียง 22,262 เสียง

                  ผู้สมัครพรรคภูมิใจไทยได้คะแนนเสียง 18,711 เสียง ผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่ไม่ได้รับสมัคร เขตเลือกตั้ง
                  ที่ 7 ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียง 29,026 เสียง ผู้สมัครพรรคภูมิใจไทยได้คะแนนเสียง

                  21,251 เสียง ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐได้คะแนนเสียง 12,973 เสียง ผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่ได้
                  คะแนนเสียง 12,636 เสียง
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111