Page 13 - kpiebook63012
P. 13
13
ส่วนวิธีการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัครฯ รับเลือกตั้ง มีทั้งวิธีการที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยตรงกับ
กลุ่มเป้าหมายของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเช่นกัน เช่น กลุ่มอายุ 18 – 22 ปี และ กลุ่ม 23 - 36 ปี ให้ความสนใจการเลือกตั้ง
จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่วนช่วงอายุตั้งแต่ 37 – 59 ปี และ อายุ 60 ปีขึ้นไป สนใจวิธีการรณรงค์หาเสียงจาก
การรับฟังข่าวจากโทรทัศน์ และวิทยุ ส่วนวิธีที่ไม่เป็นทางการและผิดกฎหมายการเลือกตั้งฯ คือ ใช้เงินซื้อ
ยังคงมีเกิดขึ้นในการเลือกตั้งแต่ละเขต โดยหัวคะแนนจะให้ความสำาคัญกับประชากรบางกลุ่มเท่านั้น
ในด้านของกลุ่มภาคประชาชน และกลุ่มการเมืองของจังหวัดพะเยา เห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้คือ
การตัดสินระหว่างชัยชนะของฝ่าย“ประชาธิปไตย” และ “เผด็จการ” โดยในบทบาทของกลุ่มภาคประชาชนครั้งนี้
มีทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในการเลือกตั้ง และส่วนหนึ่ง
ก็กลายเป็นส่วนสำาคัญของกลไกการซื้อเสียง
สำาหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเลือกตั้งครั้งนี้ ภายใต้กฎหมายเลือกตั้งใหม่จึงจำาเป็นต้องทำา
ความเข้าใจกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปมากขึ้น รวมถึงการมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์และการจัดการให้ความรู้กับ
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ทั้งนี้ มีการเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรม
โดยผลการเลือกตั้ง สรุปได้ว่าการเลือกตั้งของจังหวัดพะเยาได้มี “การเปลี่ยนแปลง” จากในอดีตที่มีสอง
พรรคใหญ่แข่งขันกัน คือ พรรคไทยรักไทย หรือพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์
เปลี่ยนเป็นพรรคเพื่อไทยและการเมืองใหม่อย่างพรรคพลังประชารัฐ และพรรคอนาคตใหม่ การแข่งขันเชิง
นโยบายและตัวบุคคล และวิธีสื่อสารทางการเมืองของผู้สมัครฯ ต่างก็มีผลต่อการตัดสินลงคะแนนในการเลือกตั้ง
ของประชาชน จนนำามาสู่ผลการเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งฯ ที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ พรรคเพื่อไทยเหลือ
เพียงแต่เขตเลือกตั้งที่ 2 ที่ยังสามารถได้รับคะแนนการเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 1 แต่ก็พบว่าผู้สมัครคนเดิมได้รับ
คะแนนเสียงลดลง สำาหรับเขตเลือกตั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ เขตเลือกตั้งที่ 1 และ 3 โดยพรรคพลังประชารัฐ
สามารถได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยพบว่าการย้ายพรรคของผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว