Page 8 - kpiebook63010
P. 8

7








                          การเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครในครั้งนี้มีการจัดการเลือกตั้งทั้งหมด 30 เขต เปลี่ยนจาก 33 เขต

                  ในคราวที่แล้ว ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ พรรคพลังประชารัฐได้ที่นั่ง 12 ที่นั่ง พรรคเพื่อไทย 9 ที่นั่ง พรรคอนาคตใหม่
                  9 ที่นั่ง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเคยมีเสียงและมีที่นั่งมากที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครในครั้งที่แล้ว

                  (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) ไม่ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งแม้แต่เขตเดียว แต่ก็ยังมีคะแนนเสียงในระดับ
                  ที่มีนัยยะสำาคัญ


                          จากการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งของพรรคหลักทั้ง 4 พรรคที่ได้คะแนนเสียงอย่างมีนัยยะสำาคัญ

                  ในกรุงเทพมหานคร จะพบว่า พรรคประชาธิปัตย์เผชิญประเด็นท้าทายในเรื่องของยุทธศาสตร์การต่อสู้
                  ทางการเมืองในระดับจุดยืนทางการเมืองและความเสียเปรียบจากความเข้มแข็งเชิงสถาบันของพรรค

                  ประชาธิปัตย์เอง พรรคเพื่อไทยสามารถรักษาพื้นที่และพัฒนากลยุทธการเลือกตั้งจากแรงกดดันทางโครงสร้าง
                  ทางการเมืองและความเสียเปรียบในการจัดวางสถาบันของกระบวนการเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐมีความได้เปรียบ

                  จากระบอบการเมืองที่ดำารงอยู่และระบบเลือกตั้งใหม่ รวมทั้งสามารถยึดกุมเครือข่ายการเลือกตั้งเดิมที่มีอยู่ใน
                  ท้องถิ่น และพรรคอนาคตใหม่ประสบความสำาเร็จทางการเมืองจากการพลิกวิกฤติของโครงสร้างทางการเมือง

                  มาเป็นโอกาสในการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบใหม่ให้เป็นพรรคที่มีอัตลักษณ์ทางการเมืองใหม่
                  ในนามของพรรคของคนรุ่นใหม่ ความหวัง และการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งมีการใช้เทคโนโลยี สื่อใหม่ และนวัตกรรม

                  ทางการเมือง แต่ความเป็นที่นิยมของพรรคอนาคตใหม่ก็เผชิญกับการต่อต้านในหลายรูปแบบ

                          การวางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของพรรคและผู้สมัครในเขตกรุงเทพมหานครมีส่วนสำาคัญ

                  ในการกำาหนดความสำาเร็จและความล้มเหลวของการเลือกตั้งในครั้งนี้ นับตั้งแต่การเข้าใจการเปลี่ยนแปลง

                  ในพื้นที่ที่มีความแตกต่างทางด้านประชากรของผู้เลือกตั้ง ความเข้าใจความหลากหลายของ “ชุมชน” ที่เป็น
                  หน่วยสำาคัญในกระบวนการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งและตัดสินใจทางการเมือง ระบบอุปถัมภ์ยังมีผลต่อความสำาเร็จ
                  ของการรณรงค์และชัยชนะในการเลือกตั้งแม้ว่าระบบอุปถัมน์จะไม่ใช่สิ่งที่กำาหนดชัยชนะในการเลือกตั้ง

                  ของพื้นที่ทั้งหมดของกรุงเทพมหานคร และการเข้าใจการใช้สื่อทั้งในรูปแบบเดิมและในแบบใหม่ ๆ เช่นสื่อโซเชียล


                          ความซับซ้อนของพลวัตรในเรื่องการทุจริตการเลือกตั้งเกิดจากทั้งตัวผู้สมัคร และเกิดจาก

                  ความเคลือบแคลงสงสัยต่อหน่วยงานของรัฐในการจัดการการเลือกตั้งในครั้งนี้ รวมทั้งระบอบการเมืองที่ดำารงอยู่

                          ผลของการเลือกตั้งในครั้งนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง

                  ที่ซับซ้อนขึ้นในการเมืองของไทย และตัวแบบหลักที่มีผลต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ก็คือตัวแบบการตัดสินใจเลือกตั้ง
                  ที่เป็นส่วนผสมของตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์และตัวแบบทางอารมณ์
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13