Page 6 - kpiebook63010
P. 6
5
ค�ำน�ำ
รายงานวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ของประเทศไทย ผ่านกรณีศึกษาหลายพื้นที่
ที่สถาบันพระปกเกล้าพิจารณาเลือกขึ้นมา โดยผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้ศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง
และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 24 มีนาคม 2562 ในเขตกรุงเทพมหานคร
รายงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในกรุงเทพมหานคร กับ 1) บรรยากาศทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรค องค์กรและ
กลุ่มทางการเมือง 2) ความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร
3) บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในการเลือกตั้ง
4) การเปลี่ยนของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน และกลุ่มการเมือง
5) พฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่าย 6) การเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจ
ทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้ง
ที่เกิดขึ้น 7) การเคลื่อนไหวและการรณรงค์ในเรื่องการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครที่ปรากฏในสื่อออนไลน์ และ
8) ประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจที่ปรากฏขึ้นมาในช่วงการวิจัย
นอกจากการสำารวจและบันทึกปรากฏการณ์ทางการเมืองโดยเฉพาะในมิติของความเคลื่อนไหว
ทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ในเขต
กรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นทั้งในระดับกรุงเทพมหานครและวิเคราะห์
ความเชื่อมโยงที่มีกับปรากฏการณ์ทางการเมืองของการเลือกตั้งครั้งนี้ในระดับชาติ
ผู้วิจัยขอขอบคุณคณะวิจัยทุกท่านที่ร่วมมือร่วมใจในการเก็บข้อมูล และจัดทำาเอกสารนี้จนเป็น
ผลสำาเร็จ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ และเจ้าหน้าที่ของสำานักวิจัยและพัฒนา และสำานักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย
สถาบันพระปกเกล้า สำาหรับการสนับสนุนงานวิจัยในทุก ๆ ด้าน และคณะร่วมวิจัยของพื้นที่อื่น ๆ ที่ให้ข้อคิด
และร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อค้นพบในการประชุมปฏิบัติการทั้ง 2 ครั้ง และสุดท้ายขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล
ทุกท่าน
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์