Page 7 - kpiebook63010
P. 7
6 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
รายงานวิจัยฉบับนี้ศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์
ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ ในมิติของ
1) บรรยากาศทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรค องค์กร และกลุ่มทางการเมือง
2) ความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร 3) บทบาท
ของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในการเลือกตั้ง
4) การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมือง ของประชาชน และกลุ่ม
การเมือง 5) พฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่าย 6) การเปลี่ยนแปลงของ
ขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์
ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น 7) การเคลื่อนไหวและการรณรงค์ในเรื่องการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครที่ปรากฏ
ในสื่อออนไลน์ และ 8) ประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจที่ปรากฏขึ้นมาในช่วงการวิจัย
ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองดังกล่าว รายงานวิจัยนี้ได้ 1) สำารวจและบันทึกปรากฏการณ์
ทางการเมืองโดยเฉพาะในมิติของความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ทำาการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ดังกล่าว
ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับกรุงเทพมหานคร และ 3) วิเคราะห์ความเชื่อมโยงที่มีกับปรากฏการณ์ทางการเมืองของ
การเลือกตั้งครั้งนี้ในระดับชาติ
ผลวิจัยพบว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ในเขตกรุงเทพมหานคร เกิดขึ้นหลังจากที่ว่างเว้นมานานถึง 8 ปี
อันเป็นผลมาจากความวุ่นวายทางเมืองที่นำาไปสู่การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ (คสช.) การปกครองภายใต้ คสช. นำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงกฎกติกาการเมืองตั้งแต่การมีรัฐธรรมนูญใหม่
ในปี พ.ศ. 2560 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับระบบการเลือกตั้งและพรรคการเมือง นอกจากนี้
พรรคการเมืองและประชาชนยังถูกห้ามไม่ให้มีกิจกรรมทางการเมืองนับตั้งแต่การทำารัฐประหารเป็นต้นมา
จนกระทั่งก่อนเข้าช่วงการเลือกตั้ง