Page 72 - kpiebook63009
P. 72

72       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี







             และการใช้คุณสมบัติส่วนตัว บุคคลที่ช่วยในการหาเสียงสนับสนุน คือ ผู้นำาชุมชน กลุ่มสตรี เครือญาติ ครอบครัว

             กลุ่มคนที่ชื่นชอบพรรคการเมือง กลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มคนที่เคยเห็นผลงาน เครือข่าย เครือข่ายอาชีพ
             กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และประชาชนทั่วไป นโยบายและประเด็นที่ใช้ในการหาเสียงคือ

             นโยบายประชานิยม ประเด็นที่พรรคการเมืองถูกยุบ และการชูนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ปัญหาและอุปสรรค
             ในการเลือกตั้ง คือ แรงต้านจากประชาชน ปัญหาสภาพภูมิอากาศ การไม่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน

             มีการกลั่นแกล้ง และมีการทำาลายป้ายหาเสียง ส่วนการทุจริตการเลือกตั้ง คือ มีการสัญญาว่าจะให้ การที่
             หน่วยราชการช่วยหาเสียง การแจกเงิน และการแจกเสื้อ


                        1.3 บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดมีจำานวน

             5 คน โดยมีการคัดเลือกรายชื่อเป็นชุดใหม่ ส่วนคณะกรรมการเลือกตั้งและผู้อำานวยการการเลือกตั้งประจำาเขต
             เลือกตั้งส่วนใหญ่เป็นบุคลากรทางการศึกษา การจัดการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น 5 เขต มีหน่วย

             เลือกตั้งจำานวน 1,272 หน่วย และสถานที่เลือกตั้งส่วนใหญ่เป็นสถานที่เลือกตั้งเดิมโดยมีการใช้ทั้งอาคารและ
             เต็นท์ ทั้งนี้มีการอบรมแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่กำาหนด มีการจัดตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการ

             รับผิดชอบในแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยส่วนใหญ่เป็นข้าราชการจากสถานศึกษา การดำาเนินการเกี่ยวกับผู้มีสิทธิ
             เลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีการดำาเนินการตามที่กฎหมายกำาหนด มีการดำาเนินการเกี่ยวกับ

             การประชาสัมพันธ์ โดยมีการจัดทำาโครงการรณรงค์ต่างๆ ผู้เข้าร่วมโครงการ คือ ครู บุคลากรจากวิทยุชุมชน
             ลูกเสืออาสา กกต. เด็กและเยาวชน ผู้พิการ และดีเจ ซึ่งดำาเนินการในลักษณะของการประชุม การอบรม

             การเดินรณรงค์ การจัดทำาเว็บไซต์ และการแจกเอกสาร สำาหรับการดำาเนินการเกี่ยวกับการลงคะแนน การนับคะแนน
             การประกาศผลการเลือกตั้ง มีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดอบรม และมีคู่มือประกอบการปฏิบัติหน้าที่ ส่วน

             การดำาเนินการเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ และระยะเวลาในการจัดการเลือกตั้ง โดยภาพรวมมีความเหมาะสม

                        1.4 บทบาทของภาคส่วนต่างๆ ข้าราชการส่วนใหญ่เป็นข้าราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น

             โดยทำาหน้าที่เป็นกรรมการการเลือกตั้งประจำาเขตเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่ประจำาหน่วยเลือกตั้ง ประกอบด้วย

             ตัวแทนจากผู้ใหญ่บ้าน ผู้ดูแลเด็กเล็ก ประธานกลุ่มแม่บ้าน นักธุรกิจ และพระ ทำาหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ช่วย
             ดำาเนินการเลือกตั้ง เป็นผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และให้การสนับสนุนสถานที่สำาหรับการ
             ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สื่อมวลชน ประกอบด้วย ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐประจำาจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้สื่อข่าว และ

             นักสื่อสารมวลชน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดสุพรรณบุรี และผู้สื่อข่าวและประกาศข่าว

             เคเบิลทีวี ศูนย์ข่าวสุพรรณบุรี/เคเบิลทีวี ทำาหน้าที่ทำาข่าว และรายงานข้อมูลความเคลื่อนไหวการเลือกตั้ง
             ในลักษณะต่างๆ องค์กรตรวจสอบการเลือกตั้ง ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งในพื้นที่ต่างๆ
             โดยได้รับงบประมาณเป็นค่านำ้ามัน ปัญหาที่พบคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเสียสิทธิเนื่องจากไม่ได้ดำาเนินการขอแจ้งย้าย

             รายชื่อกลับมา และมีการใช้หน่วยงานภาครัฐช่วยในการหาคะแนนสนับสนุน


                      2. ความเคลื่อนไหวขณะเลือกตั้ง ระบบการบริหารจัดการการเลือกตั้ง มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

             มีการจัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ มีการเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องบุคลากร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ และมีการ
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77