Page 68 - kpiebook63009
P. 68

68       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี







                          6.2.2 ลักษณะภูมิประเทศ


                      ภูมิประเทศ จังหวัดสุพรรณบุรี มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่  มีพื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบสูง

             โดยมีความลาดเทระหว่าง 0-3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดตลอดแนวตั้งแต่เหนือจรดใต้
             บริเวณพื้นที่ตำ่าสุดอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ คืออยู่สูงจากระดับนำ้าทะเลปานกลาง เฉลี่ยประมาณ 3 เมตร

             ส่วนทางเหนือของจังหวัดอยู่สูงจากระดับนำ้าทะเลปานกลางเฉลี่ยประมาณ 10 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด
             สุพรรณบุรีใช้ทำานาข้าว มีแม่นำ้าลำาคลองหนองบึงอยู่ทั่วไป แม่นำ้าสายสำาคัญที่ไหลผ่านจากเหนือสุดถึงใต้สุด ได้แก่

             แม่นำ้าท่าจีน หรือแม่นำ้าสุพรรณบุรี

                      ภูมิอากาศ สภาพโดยทั่วไปของจังหวัดสุพรรณบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคกลาง

             กล่าวคือ ฤดูร้อนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้พัดผ่านเข้ามาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

             ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ทำาให้อากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป ฤดูฝนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย
             พัดผ่านมาในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม ทำาให้อากาศมีความชุ่มชื้นมีฝนตกโดยทั่วไป ฤดูหนาว
             ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านเข้ามาในช่วงเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ทำาให้

             อากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป


                      6.2.3 ทรัพยากรและแหล่งน�้า


                      ดิน หากพิจารณาคุณสมบัติของดินทั้งทางกายภาพและเคมี เช่น เนื้อดิน ความลึกของดิน
             ความสามารถในการอุ้มนำ้าของดิน ชนิดของแร่ธาตุและปริมาณแร่ธาตุ อาหารของดิน พบว่า สภาพของดิน

             ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี เหมาะสมกับการปลูกพืช คือ การทำานาข้าว การเพาะปลูกพืชไร่ การเพาะปลูกไม้ยืนต้น
             ไม้ผลต่างๆ และการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ทำาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ถาวรสำาหรับการปศุสัตว์


                      แหล่งน�้า ประกอบด้วยแม่นำ้าลำาคลองต่างๆ มีแม่นำ้าสายใหญ่ๆ ที่สำาคัญและเป็นประโยชน์ต่อ

             ความเป็นอยู่ และเศรษฐกิจของประชากร ได้แก่ แม่นำ้าท่าจีน หรือแม่นำ้าสุพรรณบุรี เขื่อนกระเสียวซึ่งเป็นสาขา
             ที่สำาคัญของแม่นำ้าสุพรรณบุรี นอกนั้นเป็นแม่นำ้าสายเล็กซึ่งส่วนใหญ่จะไหลลงแม่นำ้าท่าจีนเกือบทั้งสิ้น


                      ป่าไม้ ลักษณะป่าไม้ของจังหวัดสุพรรณบุรีเดิมเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ได้แก่ เต็ง มะค่าโมง มะค่าแต้

             ชิงชัน ตะเคียนทอง ยมหอม แต่สภาพปัจจุบันได้ถูกราษฎรบุกรุกเข้าทำากินในเขตป่าสงวนหลายแห่งถูกเปลี่ยน
             เป็นไร่อ้อย และใช้ทำานา เป็นต้น


                      แร่ธาตุ จากการสำารวจของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า จังหวัดสุพรรณบุรีมีปริมาณแร่ไม่มากนัก

             พบแร่มีค่าบางชนิดเท่านั้น ได้แก่ ดีบุก พบบริเวณเขาโดดตุงกุง ทางตอนเหนืออำาเภอด่านช้าง นอกจากนี้
             ยังพบใยหินแกรนิตและหินปูนใช้ในการก่อสร้าง บริเวณเขาใหญ่ทางตะวันตก เขาทางตะวันออกและตะวันตก

             ระหว่างเส้นทางอู่ทองถึงพนมทวนและบริเวณเขื่อนกระเสียว อำาเภอด่านช้าง และยังขุดพบนำ้ามันดิบในบริเวณ
             ตำาบลสวนแตง อำาเภอเมืองสุพรรณบุรี
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73