Page 64 - kpiebook63008
P. 64

64       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







                        ในการเลือกตั้งปี 2550 ได้มีการจัดระบบเลือกตั้งเป็นแบบรวมเขต ทำาให้มี ส.ส. ได้ 2 คน

             ผลการเลือกตั้งปรากฏว่านายปารเมศ โพธารากุล พรรคประชาธิปัตย์ และนายสันทัด จีนาภักดิ์
             พรรคพลังประชาชน ชนะการเลือกตั้ง ได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 25.45 และ 19.90 (74,452; 58,195 คะแนน)

             ขณะที่นายประชา โพธิพิพิธ พรรคประชาธิปัตย์ และนายสาทิตย์ จีนาภักดิ์ พรรคพลังประชาชน พ่ายแพ้
             การเลือกตั้ง ได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 18.26 และ 14.27 (53,408 และ 41,737 คะแนน) โดยในการเลือก

             ตั้งครั้งนี้นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยภายใต้สังกัดพรรคชาติไทย ได้คะแนนมาเป็น
             ลำาดับที่ 5 ด้วยคะแนนคิดเป็นร้อยละ 9.48 (27,738 คะแนน)


                      ในเขตเลือกตั้งที่ 2 นี้ผลการเลือกตั้งปี 2554 นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร พรรคประชาธิปัตย์ชนะ

             การเลือกตั้งจึงเป็นเจ้าของพื้นที่เดิมหลังการชนะการเลือกตั้งได้เป็นครั้งแรก ในขณะที่พลตรีศรชัย มนตรีวัต
                                                                                         20
             พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนเป็นลำาดับสอง ตามมาด้วยนายสันทัด จีนาภักดิ์ พรรคภูมิใจไทย  เป็นลำาดับที่ 3
             ได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 51.56, 32.81 และ 14.69 ตามลำาดับ (44,540; 28,346 และ 12,692)

                      ผลการเลือกตั้งปี 2554 ดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนที่เปลี่ยนแปลง

             ทั้งจากปัจจัยด้านตัวผู้สมัคร ส.ส. กล่าวคือการเป็นนักการเมืองที่ทำากิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง นับจากการ

             ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาแม้ว่าจะไม่ประสบความสำาเร็จในการได้รับการเลือกตั้งก็ตาม นอกจากนี้
             แล้วหากพิจารณาในมิติด้านการสนับสนุนพรรคการเมือง หรือปัจจัยด้านพรรคการเมืองและปัจจัยส่วนบุคคล
             ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะพบว่ามีผลต่อคะแนนของผู้สมัครที่พ่ายแพ้การเลือกตั้ง กล่าวคือ นายสันทัด

             จีนาภักดิ์ นั้นเคยประสบความสำาเร็จในการเลือกตั้งด้วยการชนะการเลือกตั้งได้เป็น ส.ส.  2 สมัยภายใต้สังกัดพรรค

             ไทยรักไทย  และในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นกระแสการสนับสนุนพรรคไทยรักไทย ผนวกกับคะแนนสนับสนุนจาก
                      21
             กลุ่มประชาชนในพื้นที่หรือกลุ่มฐานเสียงส่วนตัว จึงทำาให้นายสันทัด จีนาภักดิ์ชนะการเลือกตั้งทั้งในการเลือกตั้ง
             ปี 2544 ปี 2548 และปี 2550 ก่อนที่จะพ่ายแพ้ในปี 2554 หลังการย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย นอกจากนี้ยังมี

             พลตรีศรชัย มนตรีวัต ซึ่งในปี 2554 ลงสมัครในระบบแบ่งเขตเลือกตั้งอีกครั้งหลังจากเคยชนะการเลือกตั้งเป็น

             ส.ส. จังหวัดกาญจนบุรี ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ในการเลือกตั้ง 2 กรกฎาคม 2538 และการเลือกตั้ง 17 พฤศจิกายน
             2539
                  22








             20  หลังจากการเลือกตั้งปี 2550 นายสันทัด จีนาภักดิ์ ได้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย โดยถือเป็นเจ้าของพื้นที่เดิม แต่ปรากฏว่า
             ไม่ได้รับการเลือกตั้งในปี 2554 ซึ่งสะท้อนให้เห็นการย้ายพรรคดังกล่าวมีผลต่อฐานเสียงสนับสนุนไม่น้อยจนกระทั่งมีผล
             ต่อการเลือกตั้ง
             21  นายสันทัด จีนาภักดิ์ เป็น ส.ส.สมัยแรกในการเลือกตั้ง 22 มีนาคม 2535 สมัยที่ 2 การเลือกตั้ง 13 กันยายน 2535
             ภายใต้สังกัดพรรคชาติไทย แต่ต่อมาในการเลือกตั้ง 2 กรกฎาคม 2538 และ การเลือกตั้ง 17 พฤศจิกายน 2539
             ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
             22  ขณะนั้นพลตรีศรชัย มนตรีวัต สังกัดพรรคความหวังใหม่ และในการเลือกตั้งดังกล่าวพรรคความหวังใหม่ได้รับการเลือกตั้ง
             ส.ส. มีจำานวนมากที่สุด จึงเป็นแกนจำาจัดตั้งรัฐบาล ทำาให้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เข้ารับตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69