Page 60 - kpiebook63008
P. 60

60       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี






             ผลกระทบจำกกำรแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ และระเบียบกำรหำเสียงของผู้สมัคร


             รับเลือกตั้ง ส.ส.ในกำรเลือกตั้ง 24 มีนำคม 2562



                      สำาหรับการเลือกตั้งของจังหวัดกาญจนบุรี ในจำานวน 5 เขตเลือกตั้ง ภายหลังการสิ้นสุดช่วงเวลา
             การเปิดรับสมัครเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปรากฏว่ามีจำานวนผู้สมัครรับเลือกตั้งจำานวนรวม 133 คน

             แบ่งเป็นเขตเลือกตั้งที่ 1 จำานวน 29 คน เขตเลือกตั้งที่ 2 จำานวน 22 คน เขตเลือกตั้งที่ 3 จำานวน 25 คน

             เขตเลือกตั้งที่ 4 จำานวน 31 คน และเขตเลือกตั้งที่ 5 จำานวน 26 คนตามลำาดับ (สำานักงานคณะกรรมการ
             การเลือกตั้งออนไลน์, 2562ข)



                      ในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 1 หากพิจารณาโดยใช้ฐานหรือขนาดของพรรคการเมืองเป็นตัวอธิบายพร้อม
             พร้อมกับชื่อเสียงอันเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จะประกอบด้วยผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ คือ พลเอกสมชาย

             วิษณุวงศ์ (หมายเลข 2) ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.ในการเลือกตั้งปี 2554 แต่ขณะนั้นสังกัดพรรคเพื่อไทย นางสาววรสุดา
                                                                          17
             สุขารมณ์  สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ (หมายเลข 11) นายอาศุชิน เป้าอารีย์  พรรคประชาธิปัตย์ (หมายเลข 10)
                     16
             นายธีรชัย ชุติมันต์ พรรคภูมิใจไทย (หมายเลข 3) นายดามพ์ ดัสกร พรรคเพื่อชาติ (หมายเลข 6) นายวรรษภณ
             แสงเป่า พรรคอนาคตใหม่ (หมายเลข 16) นายสนธิชัย สิสันต์ พรรคชาติไทยพัฒนา (หมายเลข 14) เป็นต้น

             (สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งออนไลน์, 2562ข, หน้า 24)


                      ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ดังกล่าวนี้นับจากการเลือกตั้งปี 2544 เป็นต้นมา เป็นพื้นที่ที่ประชาชนชาวจังหวัด

             กาญจนบุรีส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนผู้สมัครจาก 2 พรรคเป็นหลัก คือ พรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์
             (คะแนนแบบบัญชีรายชื่อ ไทยรักไทย 31,405 คะแนน ประชาธิปัตย์ 20,784 คะแนน) ขณะที่คะแนนในระบบ

             แบ่งเขตเลือกตั้ง หรือคะแนน ส.ส. พรรคไทยรักไทยหรือต่อมาคือพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย
             ถือเป็นพรรคที่ประสบความสำาเร็จชนะการเลือกตั้งทุกครั้ง กล่าวคือ  ปี 2544 นายแพทย์เดชา สุขารมณ์

             ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนคิดเป็นร้อยละ 43.36 รองลงมาคือ นายสุเมธ โพธิพิพิธ พรรคประชาธิปัตย์
             ได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 37.07 ในขณะที่ผู้สมัครจากพรรคลำาดับที่ 3 คือ นายสุชิน เป้าอารีย์ พรรคความหวังใหม่

             ได้คะแนนเพียงร้อยละ 8.63 เท่านั้น (27,992; 21,852 และ 5,088 คะแนน ตามลำาดับ; อ้างถึงใน
             สุวิชา วรวิเชียรวงษ์ และณัฐพงศ์ บุญเหลือ, 2559, หน้า 158)





             16  บุตรสาวของเรืออากาศโท นายแพทย์เดชา สุขารมณ์ อดีตรัฐมนตรี และอดีต ส.ส . พรรคชาติไทยในการเลือกตั้งสมัย

             ที่ 16 (22 มีนาคม 2535) สมัยที่ 17  (13 กันยายน 2535)  สมัยที่ 18 (2  กรกฎาคม 2538) และสมัยที่ 19 (17 กรกฎาคม
             2539 พรรคชาติไทย) สมัยที่ 19 (17 พฤศจิกายน 2539 ต่อมาได้เปลี่ยนลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทยและได้รับการเลือกตั้ง
             ในปี 2544
             17  ตระกูลเป้าอารีย์ เป็นตระกูลการเมืองของจังหวัดกาญจนบุรีในอดีต โดยมีนายชวิน เป้าอารีย์ เคยเป็น ส.ส. ของจังหวัด
             ในการเลือกตั้งสมัยที่ 12 (22 เมษายน 2522) สังกัดพรรคกิจสังคม  15 (24 กรกฎาคม 2531) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65