Page 59 - kpiebook63008
P. 59
59
สำาหรับการดำาเนินการจัดแบ่งพื้นที่นั้นในระบบการทำางานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำา
จังหวัดกาญจนบุรีใช้แนวทางที่กำาหนดไว้ในกฎหมาย กล่าวคือดำาเนินการภายใต้หลักการอำาเภอเดียวกัน
ต้องจัดให้อยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน พิจารณาองค์ประกอบเรื่องการเดินทางของประชาชน (การคมนาคม)
ด้านการเป็นพื้นที่ติดต่อระหว่างกัน อย่างไรก็ตามด้วยภูมิประเทศของจังหวัดกาญจนบุรีมีลักษณะทอดยาว
ระหว่างอำาเภอเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและศูนย์กลางระบบราชการเชื่อมกับบางอำาเภอ เช่นมีระยะห่าง
กับอำาเภอสังขละบุรีราว 300 กิโลเมตร มีสภาพพื้นที่ซับซ้อนด้วยภูเขาและป่าไม้ เขือนขนาดใหญ่ที่ขวางกัน
ระหว่างพื้นที่ของอำาเภอ นอกจากนี้ในด้านวัฒนธรรม ความเชื่อและประเพณีก็มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก
เพราะประกอบด้วยคนจากหลากหลายชาติพันธุ์ เช่น ชาติพันธุ์กระเหรี่ยง เป็นต้น การตัดสินใจแบ่งพื้นที่
เขตเลือกตั้งจึงต้องดำาเนินการพิจารณาในขั้นตอนต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จึงปรากฏข้อสังเกตหรือข้อสงสัย
และความกังวลทั้งในตัวนักการเมืองรวมถึงประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ กกต. ประจำาจังหวัดได้เลือกใช้วิธีการ
ทำาความเข้าใจ การพูดคุยชี้แจ้ง จึงสามารถจัดการปัญหาเหล่านั้นได้และเป็นที่เข้าใจของประชาชนในพื้นที่
(ผู้อำานวยการเลือกตั้งประจำาจังหวัดกาญจนบุรี, สัมภาษณ์ 2562)
“...ยกตัวอย่างเขตเมืองกับอ�าเภอศรีสวัสดิ์ จริง ๆ แล้ววัฒนธรรมมันต่างกัน ต่างกัน
แต่เราก็มองว่าพื้นที่สามารถติดต่อกันไปมา คมนาคมสะดวก เดิมทีศรีสวัสดิ์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 เขต
ทีนี้เราก็มองว่า เขตเลือกตั้งที่ 5 พื้นที่จะกว้าง จะมีศรีสวัสดิ์ ไทรโยค ทองผาภูมิ สังขละ พื้นที่ 1 เขต
ใหญ่กว่า 4 เขตรวมกัน ทีนี้พอเราลดศรีสวัสดิ์ลง พื้นที่ก็จะเล็กลง ผู้สมัคร (ส.ส.) เขต 5 ก็เดินทาง
ไม่เหมือนกัน หากเป็นในความเห็น (ผอ.) อย่างที่หากจะไปก็จะไปเพียงไทรโยค ทองผาภูมิ ก็ขึ้นไป
สังขละเลย จะไม่เลี้ยวขวาแล้วในการเดินทางจะสะดวกตรงนั้น ตอนแรกคนศรีสวัสดิ์ก็ไม่เข้าใจ
ว่าท�าไม เขาอยู่ของเขาดี ๆ อยู่แล้ว ก็ไปอธิบายก็เข้าใจ ยิ่งตอนหลังเขตเดียวคะแนนใครคะแนนคนนั้น
กลับเป็นการโชคดีของจังหวัด (เรา) ไม่ใช่หันหน้าหันหลังคนละหมายเลขเหมือนที่อื่น บางคนอ�าเภอ
หนึ่งแบ่งเป็น 3 เขตยิ่งหนัก การหาเสียงก็ง่าย หากถูกถึงนัยยะด้านการหาเสียง...”
อย่างไรก็ตามในประเด็นการพิจารณาการจัดแบ่งพื้นที่ในเขตเลือกตั้งนั้น หากใช้เลือกเกณฑ์จำานวน
ประชากรเป็นหลักจะมีผลทำาให้เกิดการแบ่งพื้นที่ของอำาเภอขนาดใหญ่ที่ติดต่อกันออกไปบางส่วนเพื่อรวม
กับอีกอำาเภอหนึ่งให้ครบตามสัดส่วนจำานวนประชากรที่กำาหนด แนวทางดังกล่าวจึงเป็นที่มาของข้อสงสัยว่า
อาจก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในประเด็นฐานเสียงสนับสนุนของประชาชนที่มีต่อผู้สมัคร ส.ส.
ดังที่ปรากฏข้อท้วงติงและมีการเรียกร้องให้มีการแก้ไขในเขตเลือกตั้งของหลายจังหวัด
“... (ต่อค�าถามดังกล่าว) เพราะมาจากการเน้นจ�านวนประชากร จึงไปแยกอ�าเภอใหญ่
เป็นหลัก ของเราหากเลือกแบบที่ 1 อ�าเภอพนมทวนจะโดน (แยก) อ�าเภอเดียว หากเป็นแบบที่ 2
จะโดน (มี) 4 อ�าเภอ (ที่โดนแยก) แต่แบบที่ 3 ไม่แบ่งเลย ซึ่งตอนหลังชาวบ้านนี่โอเค เวลาหาเสียง
ก็ง่าย แรก ๆ ก็อาจมีผลกระทบเล็กน้อย สหรัฐอเมริกาก็เลือก (มาดูงานการเลือกตั้ง) จังหวัดกาญจนบุรี
โดยสถานฑูตที่เกี่ยวกับฝ่ายการเมืองเลือก เราก็สงสัยว่าท�าไหมถึงเลือก เขาก็มา เราก็อธิบายให้ฟัง
เรื่องการแบ่งเขต อธิบายเรื่องลักษณะขนาดพื้นที่ การสนับสนุนการท�างาน”