Page 103 - kpiebook63006
P. 103

103








                          เขตเลือกตั้งที่ 5


                          อำาเภอสิงหนคร (เฉพาะตำาบลปากรอ ตำาบลป่าขาด ตำาบลทำานบ ตำาบลชิงโค และตำาบล
                  สทิงหม้อ) ร่วมกับอำาเภอควนเนียง อำาเภอบางกลำ่า และอำาเภอรัตภูมิ



                          เขตเลือกตั้งนี้ก็ไม่แตกต่างจากเขตเลือกตั้งที่ 4 ในแง่ของความเป็นพื้นที่ชนบทมากกว่าเป็นพื้นที่
                  ที่มีความเป็นเมือง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นเทศบาลตำาบล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นกึ่งเมือง

                  กึ่งชนบท มีเทศบาลเมืองคือ เทศบาลเมืองสิงหนคร เทศบาลเมืองกำาแพงเพชร อำาเภอรัตภูมิ เช่นเดียวกับ
                  เขตอื่นๆ เขตนี้เป็นพื้นที่ที่พรรคประชาธิปัตย์ครองความนิยมมาโดยตลอด ในการเลือกตั้งปี 2554

                  ประพร เอกอุรุ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงสุดของจังหวัด (บูฆอรี ยีหมะ, 2558)


                          อย่างไรก็ตาม ประพรได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 ส่งผลทำาให้เขตเลือกตั้งนี้
                  เปรียบเสมือนตกอยู่ภายใต้สุญญากาศทางการเมืองที่ไม่เพียงพรรคการเมืองอื่นเห็นโอกาสต้องการชนะ

                  เลือกตั้งในเขตนี้เท่านั้น แต่ภายในพรรคประชาธิปัตย์เองก็มีผู้ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตนี้หลายคน
                  โดยเฉพาะระหว่างสรรเพชญ บุตรชายของนิพนธ์ กับเดชอิศม์ ขาวทอง อดีตนายกองค์การบริหาร

                  ส่วนจังหวัดสงขลา ซึ่งมีถาวร เสนเนียม เป็นผู้ให้การสนับสนุน (กรุงเทพธุรกิจ, 23 เมษายน 2561,
                  ‘ถาวร’ หนุน ‘เดชอิศม์ ขาวทอง’ ลงสมัครส.ส.เขต 5 สงขลา (ออนไลน์), 12 พฤษภาคม 2562, แหล่งที่มา

                  https://www.bangkokbiznews.com/ news/detail/799614) จึงนับเป็นสงครามตัวแทนของ 2 ผู้นำามุ้ง
                  ในจังหวัดสงขลา ในที่สุดกรรมการบริหารพรรคตัดสินใจเลือกเดชอิศม์ เป็นตัวแทนพรรคลงสมัครในเขตนี้

                  จากการหยั่งเสียงคะแนนนิยมในพื้นที่ ทำาให้สรรเพชญ ต้องหันเหไปลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 1 แทน
                  ดังที่ผู้วิจัยได้กล่าวมาแล้ว


                          เขตเลือกตั้งที่ 5 มีผู้สมัครและพรรคที่สังกัดที่น่าสนใจดังนี้


                          1. นายเดชอิศม์ ขาวทอง พรรคประชาธิปัตย์ อายุ 54 ปี อดีตสมาชิกสภาจังหวัดและ

                  อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อดีตประธานสมาพันธ์นายกอบจ. 14 จังหวัดภาคใต้
                  การลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส. ในครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้เขาเคยลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทย

                  แต่ก็พ่ายแพ้ให้กับผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้น การเสนอตัวเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม
                  พรรคประชาธิปัตย์ในช่วงแรก เขาจึงถูกต่อต้านจากสมาชิกพรรคและแกนนำาพรรคในพื้นที่พอสมควรว่า

                  เคยสังกัดพรรคการเมืองที่นับว่าเป็นคู่ปรับของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งมีพรรค
                  ไทยรักไทย (ต่อมาเมื่อถูกยุบพรรคก็เป็นพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย) เพียงพรรคเดียวที่ส่ง

                  ผู้สมัครลงแข่งขันกับพรรคประชาธิปัตย์อย่างจริงจัง


                          เดชอิศม์ นับว่ามีฐานเสียงและเครือข่ายที่เป็นของตนเองมากพอสมควร ทั้งจากการเป็น
                  นักการเมืองท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน มีตำาแหน่งสูงสุดเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108