Page 100 - kpiebook63006
P. 100

100   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






                      เขตเลือกตั้งที่ 4


                      อำาเภอระโนด อำาเภอกระแสสินธุ์ อำาเภอสทิงพระ อำาเภอสิงหนคร (ยกเว้นตำาบลปากรอ ตำาบล
             ป่าขาด ตำาบลทำานบ ตำาบลชิงโค และตำาบลสทิงหม้อ)


                      เขตเลือกตั้งนี้มีลักษณะของพื้นที่ที่มีความเป็นชนบทมากกว่าความเป็นเมืองเมื่อเปรียบเทียบ
             กับ 3 เขตเลือกตั้งที่ได้กล่าวมาที่มีความเป็นเมืองสูงกว่า แม้กระทั่งในพื้นที่ที่เป็นเขตเทศบาลก็เป็นเพียง

             เทศบาลตำาบล ซึ่งมีลักษณะของความเป็นกึ่งเมืองกึ่งชนบท


                      อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครและพรรคการเมืองที่มีความโดดเด่นในเขตเลือกตั้งนี้ก็ไม่ต่างจาก 3 เขต
             ที่กล่าวมามากนักได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย รายละเอียดมีดังนี้



                      1. นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว พรรคประชาธิปัตย์ อายุ 47 ปี อดีตส.ส. สงขลา 2 สมัยของพรรคการเมือง
             นี้ โดยคลุกคลีกับการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ในระดับท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร เคยเป็นเลขานุการ

             ส่วนตัวของถาวร เสนเนียม จึงนับว่าชัยวุฒิเป็นนักการเมืองที่สังกัดกลุ่มของถาวรอย่างชัดเจน โดยเฉพาะ
             เมื่อได้เป็นส.ส.สมัยแรก ในปี 2552 จากการเลือกตั้งซ่อมแทนวินัย เสนเนียม ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์

             และเป็นน้องชายของถาวร เนื่องจากเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ในการเลือกตั้งปี 2554 นายชัยวุฒิ
             ก็ชนะเลือกตั้งอีกครั้งเป็นสมัยที่ 2


                      กล่าวได้ว่า ในเขตเลือกตั้งนี้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความผูกพันกับพรรคประชาธิปัตย์อย่าง

             เหนียวแน่นไม่แตกต่างจากเขตเลือกตั้งอื่นๆ ดังนั้น ความสำาเร็จทางการเมืองของชัยวุฒิ ในการเลือกตั้ง
             ทั้ง 2 ครั้งจึงมาจากกระแสความนิยมที่มีต่อพรรคเป็นปัจจัยหลัก ขณะที่ความนิยมที่มีต่อตัวชัยวุฒิเอง

             มีไม่มากนัก เพราะก่อนการเลือกตั้งครั้งแรกแทบจะไม่ได้สัมผัสกับพื้นที่เลือกตั้ง เนื่องจากทำางานการเมือง
             ให้กับพรรคที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก แม้กระทั่งในเวลาต่อมาที่ได้เป็นส.ส. แล้ว ชัยวุฒิก็ไม่ได้มีบทบาทที่

             โดดเด่นในทางการเมือง และไม่ได้เป็นปากเสียงให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อสะท้อนปัญหาความต้องการ
             มากมายนัก


                      การเลือกตั้งในครั้งนี้ ชัยวุฒิอยู่ภายใต้บริบททางการเมืองที่ไม่แตกต่างจากผู้สมัครรายอื่นๆ ของ

             พรรคประชาธิปัตย์คือ กระแสความนิยมลดน้อยลง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีท่าทีเบื่อหน่ายกับบทบาททางการเมือง
             ของพรรคเก่าแก่นี้ซึ่งสัมพันธ์กับบริบททางเศรษฐกิจที่ตกตำ่าที่มองว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่แสดงบทบาท

             อย่างแข็งขันเพียงพอ ในการช่วยเหลือเป็นตัวกลางสะท้อนปัญหาต่อรัฐบาลคสช. ของพลเอกประยุทธ์

                      อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ชัยวุฒิชนะเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆ มาด้วยกระแสความนิยมของประชาชน

             ที่มีต่อพรรคมากกว่าความโดดเด่นของตนเอง กลยุทธ์ในการหาเสียงเลือกตั้งจึงเน้นไปที่ตัวพรรค

             โดยเฉพาะในแง่ความเก่าแก่ของพรรคที่ต่อสู้ทางการเมืองมาอย่างยาวนาน เป็นพรรคการเมืองที่อยู่คู่กับ
             คนภาคใต้ตามสโลแกนที่ว่า “พรรคของเรา คนของเรา” พร้อมกับนโยบายด้านต่างๆ โดยเฉพาะนโยบาย
             ด้านเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนในพื้นที่
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105