Page 88 - kpiebook63005
P. 88

87






                  กรรณิการ์ สืบสารคาม อดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สังกัดพรรคภูมิใจไทย กรรณิการ์เคยให้

                  สัมภาษณ์ว่า ตนเองมีความใกล้ชิดกับเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในพื้นที่กว่า 2,000 ราย
                  ครอบคลุมทั้งอำาเภอนำ้าพองและอำาเภอกระนวนในช่วงที่เป็นสมาชิกสภาอบจ.ของพื้นที่มานาน  กรรณิการ์
                                                                                                 188
                  มีชื่อเสียงเป็นที่สนใจในพื้นที่เนื่องด้วยรูปแบบการหาเสียงที่แหวกแนวด้วยการออกแบบป้ายหาเสียงให้
                  เป็นรูปใบกัญชาและเธอสวมหมวกที่ปักด้วยรูปใบกัญชา กรรณิการ์หาเสียงโดยเน้นยำ้าถึงนโยบายกัญชา

                  เสรีอันเป็นนโยบายของพรรค กรรณิการ์เคยให้สัมภาษณ์ว่า “ดิฉันฟันธง ขอใช้นโยบายเดียวเข้าหาพี่น้อง
                  ประชาชน หลังจากเดินหาเสียงมาเดือนกว่าๆ พบว่า นโยบายกัญชาเสรีเอาชนะใจประชาชนได้มากที่สุด

                  และเป็นความหวัง ความต้องการของประชาชนที่รอจะปลูกกัญชา เพื่อแก้ปัญหาความยากจน จึงออกแบบ
                  สื่อสารถึงประชาชน ด้วยการน�าใบกัญชามาใช้เป็นแผ่นป้ายหาเสียง สติ๊กเกอร์ และ หมวกปักเป็นรูป

                  ใบกัญชา พร้อมหมายเลขหมายเลข 11 สร้างความแปลกใหม่ ที่บริเวณข้างหมวก”    189


                          ส่วนผลสำารวจประชามติจากสำานัก A (เขต 3 ใช้กลุ่มตัวอย่างจำานวน 1,166 ราย) ครอบคลุม
                  ไปทุกตำาบลและหมู่บ้าน พบว่า จตุพร เจริญเชื้อ ได้รับความนิยมอยู่ที่ 37.4 % ชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง

                  22.1 % กิตติ คำาแก่นคูณ 16.9 % กรรณิการ์ สืบสารคาม 11.3% ที่เหลือเป็นผู้สมัครจากพรรคอื่นๆ




                          เขต 4

                          พรรคเพื่อไทยส่ง ส.ส. คนเดิมในพื้นที่เช่นกันคือ มุกดา พงษ์สมบัติ มุกดาเป็นอดีตส.ส.ตั้งแต่
                  ปี 2539 สังกัดพรรคกิจสังคม เป็นส.ส.ในปี 2544 และ 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย ขณะที่การเลือกตั้ง

                  ในปี 2550 มุกดาลงสมัคร ส.ส. สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดินร่วมกับหัวหน้าพรรคคือสุวิทย์ คุณกิตติ
                                                            190
                  แต่พ่ายแพ้ให้ทีมผู้สมัครของพรรคพลังประชาชน  ทว่าในการเลือกตั้งปี 2554 มุกดาเปลี่ยนมาลงสังกัด
                  พรรคเพื่อไทย ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย โดยได้คะแนน 73,511 เสียง ทิ้งห่างอันดับสอง
                  คือ นายณรงค์เลิศ สุรพล  จากพรรคกิจสังคม ที่ได้คะแนน 16,953 เสียงและนายสงคราม เมืองมนตรี
                                        191
                  จากพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้คะแนน 7,043 เสียง นั่นหมายความว่า กระแสพรรคของพรรคเพื่อไทยได้รับ
                  ความนิยมเป็นอย่างสูงในพื้นที่เขตนี้ ส่วนคู่แข่งสำาคัญในการเลือกตั้งรอบนี้น่าจะมีเพียง 2 เท่านั้น คนแรก

                  คือ นายพิชิต สุรพล จากพรรคพลังประชารัฐ พิชิตเป็นอดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำาบลศรีสุขสำาราญ


                  188  “‘ภท.’ เมืองหมอแคนตั้งทีม ‘อสม.’รุกพื้นที่ ชู นโยบายปันกำาไร 70 % มัดใจเกษตรกร” แนวหน้า, 14 มกราคม
                  2562 https://www.naewna.com/politic/388724 (เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2562)
                  189  อ้างใน “ผู้สมัคร ส.ส.ภูมิใจไทยใช้สัญลักษณ์ใบกัญชาหาเสียง” Newtv18, 3 มีนาคม 2562 https://www.newtv.
                  co.th/news/30732# (เข้าถึงเมื่อ 4 มีนาคม 2562)
                  190  มุกดาเคยเล่าเหตุผลว่า “เหตุผลที่ไม่มาสังกัดพรรคพลังประชาชนเพราะได้รับการชักชวนจากคุณสุวิทย์ คุณกิตติ
                  มันเป็นเหตุผลส่วนตัวที่ปฏิเสธไม่ได้ ทั้งที่รู้ว่าอาจไม่ชนะการเลือกตั้งได้ เพราะนโยบายของพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็น
                  พรรคไทยรักไทยเดิม โดดเด่นกว่าพรรคเพื่อแผ่นดินมาก แต่ก็แพ้เพียงไม่กี่พันคะแนน” (สัมภาษณ์ 5 ธันวาคม 2558)
                  อ้างใน นิพนธ์ โซะเฮง, นักการเมืองถิ่นจังหวัดขอนแก่น (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2560) หน้า131
                  191  ณรงค์เลิศ สุรพล เคยเป็น ส.ส. ขอนแก่น สังกัดพรรคกิจสังคมเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2535 เรื่อยมา และยังเป็น ส.ส.พรรค
                  กิจสังคมคนเดียวที่ได้รับชัยชนะในจังหวัดขอนแก่นในปี 2544 แม้จะเป็นช่วงที่กระแสพรรคไทยรักไทยมาแรงและ
                  ได้จำานวน ส.ส.แทบจะยกทั้งจังหวัดขอนแก่น แต่หลังจากนั้น ณรงค์เลิศพ่ายแพ้มาตลอด จนกระทั่งการเลือกตั้งในรอบนี้
                  ประกาศว่าจะสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93