Page 145 - kpiebook63005
P. 145

144 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น








                      ข้อสังเกตจากผลการเลือกตั้งมีดังนี้


                      ในเขต 6 พรรคเพื่อไทยให้เจ้าของพื้นที่เดิมคือสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีต ส.ส.ขอนแก่น

             10 สมัย (ตั้งแต่ปี 2526-2557) ตำาแหน่งล่าสุดคืออดีตประธานรัฐสภาเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะลงรับสมัครเป็น
             ส.ส.หรือจะให้ใครลงแทนตนเอง เนื่องด้วยสถานการณ์ทางการเมืองหลังรัฐประหารที่พรรคเพื่อไทยเป็น

             เป้าหมายหลักของ คสช.ในการทำาลายศักยภาพของพรรค หนึ่งในหลายเหตุการณ์คือกรณีของสมศักดิ์
             เขาได้ถูกสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงคะแนนถอดถอนเขาเพื่อไม่ให้เกี่ยวข้องทางการเมืองเป็น

             เวลา 5 ปี จากกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. มิชอบตามสำานวนการไต่สวนของ ป.ป.ช.
             แม้การถอดถอนจะไม่สำาเร็จ แต่เหตุการณ์นี้บั่นทอนต่อสภาพจิตใจเขาเป็นอย่างยิ่ง ในการเลือกตั้งครั้งนี้

             สมศักดิ์มีทางเลือกเพียงสองทาง ทางเลือกแรกคือ ลงสมัครในนาม ส.ส. ด้วยตนเอง ทางเลือกที่สองคือ
             วางมือทางการเมือง เนื่องด้วยตนเองเคยเป็นถึงตำาแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ สมศักดิ์อาจจะมองว่า

             เป็นจุดสูงสุดของชีวิตแล้ว อีกทั้งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ไม่เอื้อต่อการทำางานทางการเมือง จึงอาจจะ
             อยากวางมือทางการเมืองโดยส่งคนใกล้ชิดที่ไว้ใจได้คอยดูแลพื้นที่เดิมที่ตนเองดูแลมากว่า 36 ปี ที่สุดแล้ว

             สมศักดิ์เลือกที่จะวางมือทางการเมือง แรกเริ่มมีกระแสข่าวว่าจะส่งลูกสาวลงแทนคือนางสาวพลอยไพลิน
             เกียรติสุรนนท์ แต่ทางครอบครัวเกียรติสุรนนท์หารือกันว่า ควรให้ลูกสาวดูแลธุรกิจของครอบครัว ดังนั้น

             สมศักดิ์จึงเลือกบุคคลหน้าใหม่ในทางการเมืองแต่เป็นคนหน้าเก่าสำาหรับสมศักดิ์มาเป็นเวลา 31 ปี นั่นคือ
             สิงหภณ ดีนางหรือทนายกี้ ทนายความประจำาตัวและเลขานุการส่วนตัวของสมศักดิ์ตั้งแต่ปี 2531


                      จากการสัมภาษณ์สิงหภณ ดีนาง เขาเล่าว่า ตนเองทำาหน้าที่ดูแลกิจการให้สมศักดิ์ ลงพื้นที่

             ติดตามสมศักดิ์ในการพบปะชาวบ้านมาโดยตลอด “หากท่านสมศักดิ์ไม่ว่าง งานบุญ งานแต่ง จะมีผม
             ไปแทนท่านตลอด ผมทำาหน้าที่ประสานทุกอย่าง” สิงหภณอาจจะหน้าใหม่ในทางการเมืองหรือหน้าใหม่
             ต่อพรรคเพื่อไทย เนื่องจากไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าเขาจะลงสมัคร แม้แต่ตัวเขาเองก็ยอมรับว่าเพิ่งรู้ว่า

             จะได้ลงส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทยก็ล่วงเลยไปถึงเดือนธันวาคม ปี 2561 แต่สำาหรับประชาชนในพื้นที่ สิงหภณ

             ไม่ได้เป็นคนหน้าใหม่แต่อย่างใด สิงหภณเล่าว่า สมศักดิ์ขอให้ตนเองลงรับสมัคร ส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทย
             เพื่อดูแลพื้นที่เขต 6 แทนสมศักดิ์ โดยตนเองเข้าไปสมัครสมาชิกพรรคเพื่อไทยวันที่ 18 ธันวาคม 2561
             จากนั้นตนเองลงพื้นที่ทุกครัวเรือนใน 252 หมู่บ้านตั้งแต่ก่อนที่จะได้หมายเลขผู้สมัคร ต่อมาลงซำ้าอีกครั้ง

             252 หมู่บ้านก่อนการเลือกตั้ง ตนเองใช้ทีมงานหาเสียงชุดเดิมของสมศักดิ์และมีสมศักดิ์เป็นผู้ให้คำาแนะนำา

             ในการลงแข่งขัน ขณะที่โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 21 มีนาคม 2562 สมศักดิ์ได้ขึ้นเวทีปราศรัยที่
             หน้าเทศบาลเมืองชุมแพเพื่อขอให้ประชาชนที่ยังสนับสนุนเขาให้สนับสนุนสิงหภณด้วย ผลการเลือกตั้งจึง
             ทำาให้สิงหภณได้เป็นส.ส.สมัยแรกด้วยการชนะนายสมพงษ์ ปู่เพ็ง นักการเมืองท้องถิ่นผู้กว้างขวางในพื้นที่


                      สิงหภณย้อนกลับไปเล่าว่า การที่ตนเองเป็นคนหน้าใหม่ทางการเมืองจึงไม่ถูกติดตามจาก

             เจ้าหน้าที่รัฐ “เขามองว่าผมอยู่นอกสายตา แม้แต่คนในพรรคเพื่อไทยยังงงว่าผมมาได้อย่างไร” ส่วน
             ความกังวลในการเลือกตั้ง สิงหภณยอมรับว่า ตนเองกังวลเรื่องการสนับสนุนจากอำานาจรัฐและอำานาจเงิน

             ในพื้นที่ที่ช่วยเหลือผู้สมัครของพรรคการเมืองอีกฝ่าย
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150