Page 45 - kpiebook62009
P. 45

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562




               ส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีการจำแนกตัวชี้วัด ออกเป็น

               7 หมวด ดังนี้
                              หมวดที่ 1 การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เป็นการพิจารณาการเปิดโอกาสให้ประชาชน

               เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นตามระเบียบปฏิบัติของกฎหมาย ตั้งแต่การแต่งตั้ง
               คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการสนับสนุนแผนพัฒนาท้องถิ่น และคณะกรรมการติดตามและ

               ประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น การจัดทำหรือปรับแผนพัฒนาท้องถิ่น และขั้นตอนการติดตามประเมินผล
               แผนพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะการประชุมคณะกรรมการ ต่างๆ

                              หมวดที่ 2 การจัดทำโครงการและบริการสาธารณะ เป็นการพิจารณากระบวนการมี
               ส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำโครงการและการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย

               ให้ความสำคัญกับการจัดทำโครงการหรือการบริการสาธารณะที่ตอบสนองต่อสภาพปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
               ในท้องถิ่น ซึ่งนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมในการดำเนินงาน

                              หมวดที่ 3 การบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น เป็นการพิจารณาการบริหารงานทางด้าน
               การเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามระเบียบปฏิบัติของกฎหมาย รวมทั้งองค์กรปกครอง

               ส่วนท้องถิ่นต้องมีความโปร่งใสและมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านนี้อย่าง
               ชัดเจน

                              หมวดที่ 4 กระบวนการกิจการสภาท้องถิ่น เป็นการพิจารณาการเปิดโอกาสให้ประชาชน
               เข้ามามีส่วนร่วมในกิจการสภาท้องถิ่น ซึ่งสภาท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญทางด้านนิติบัญญัติในการพิจารณา

               ข้อบัญญัติท้องถิ่น ข้อบัญญัติงบประมาณท้องถิ่น และติดตามตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร
                              หมวดที่ 5 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เป็นการพิจารณากิจกรรมการเผยแพร่ข้อมูล

               ข่าวสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ประชาชน เพื่อสะท้อนถึงความโปร่งใสและการส่งเสริมการมี
               ส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่น

                              หมวดที่ 6 การเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน เป็นการพิจารณา
               กิจกรรมการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน ทั้งในรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้

               โดยทั่วไป การเสริมสร้างความสามารถเฉพาะทาง การปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะ ค่านิยมอื่นๆ และที่สำคัญ
               การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชนเป็นปัจจัย

               สำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่น
                               หมวดที่ 7 โครงการที่โดดเด่นเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ

               ประชาชน เป็นการพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แสดงถึงความโปร่งใส
               และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างโดดเด่นเป็นเลิศ เพื่อเป็นตัวอย่างการบริหารงานและการ

               ดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมประกอบการพิจารณารางวัล
                               ซึ่งทั้ง 7 หมวด มีตัวชี้วัดสำคัญที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเป็นตัวชี้วัดขั้น
               พื้นฐาน (Audit Indicators) และตัวชี้วัดขั้นพัฒนา (Performance Indicators) โดยมีการจัดทำกรอบ

               ตัวชี้วัดเพื่อใช้ประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดังนี้





                                                           4
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50