Page 170 - kpiebook62005
P. 170
การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุง
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ระหว่างเวลา 13.00-16.00 น.
ห้องประชุมธีระ พัมธุมวานิช ชั้น 6 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
เมืองทองธานี ปากเกร็ด นนทบุรี
ภายใต้โครงการแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
ความเป็นมา
ในปี 2535 ประชาคมโลกรวมถึงประเทศไทยได้ลงนามใน ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
(Rio Declaration on Environment and Development) โดยหลักการข้อที่ 10 ของปฏิญญานี้ระบุว่า การ
จัดการสิ่งแวดล้อมจะท าได้ดีที่สุดเมื่อประชาชนในทุกระดับมีส่วนร่วม และรัฐจะต้องส่งเสริมและอ านวยความ
สะดวกให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และเข้าถึงกระบวนการทางปกครอง
และกฎหมาย รวมทั้งได้รับการเยียวยาความเสียหาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กล่าวถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน
ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 41 “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึง
ข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ....” และในหมวด 5 หน้าที่
ของรัฐ มาตรา 59 “รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ข้อมูล
เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึง
ข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวก”
อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่ผ่านมา ชี้ว่าในทางปฏิบัติการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ
ประชาชนยังมีขอบเขตที่จ ากัดทั้ง ด้านผู้ให้ข้อมูลที่เป็นภาครัฐที่ยังไม่มีความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติในการให้
ข้อมูล โดยกฎหมายต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น และทางด้านผู้รับข้อมูลทั้งองค์กรภาคประชาสังคม ประชาชนผู้ได้รับ
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และประชาชนทั่วไป มักจะไม่ทราบถึงสิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตาม
กฎหมาย หรือไม่สามารถน าข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปกป้องสิทธิของชุมชนได้