Page 238 - 30422_Fulltext
P. 238

| 229

                                                            บทที่ 5

                                                            บทสรุป


                         พอดแคสต์กลายเป็นสื่อใหม่ที่เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ผลิตสื่อรายย่อยและองค์กรต่าง ๆ ด้วยความก้าวหน้า
                  ทางเทคโนโลยี ส่งผลให้สามารถลดขั้นตอนในการผลิตพอดแคสต์ด้วยต้นทุนขนาดต่ า ทั้งนี้ การขยายขนาดของ

                  รายการพอดแคสต์ นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการจัดจ าหน่าย iPod จนถึงปัจจุบัน มีรายการพอดแคสต์เกิดขึ้น

                  มากกว่า 1.95 ล้านรายการ กว่า 100 ภาษาทั่วโลก (Winn, 2021) หากวัดจ านวนรายการพอดแคสต์
                  เปรียบเทียบกับประชากรโลก พบว่า จ านวนรายการพอดแคสต์ มีจ านวนมากกว่าประชากรในประเทศลัตเวีย

                  ที่มีจ านวนประชากรโลกมากเป็นล าดับที่ 151 จ านวน 1.88 ล้านคน (Worldometer, 2021) ในปัจจุบัน

                  ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงพอดแคสต์ได้ด้วยอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ตัวกลาง เช่น
                  โทรศัพท์สมาร์ทโฟน เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ และกระบวนการเข้าฟังพอดแคสต์ได้ถูกลดขั้นตอนให้สามารถ

                  เข้าฟังได้โดยตรงจากหลากหลายแพลตฟอร์ม อาทิเช่น Apple Podcasts, Google Podcasts, Pocket Casts,

                  RadioPublic, Spotify ฯลฯ

                         รายการพอดแคสต์ที่ถูกผลิตขึ้นในปัจจุบันมีความหลากหลายทั้งในประเภทของรายการและวิธีการ

                  ด าเนินรายการ เกิดการสร้างงานเพื่อการผลิตรายการพอดแคสต์โดยเฉพาะ เช่น งานฝ่ายผลิตเนื้อหารายการ

                  พอดแคสต์ งานตัดต่อเสียงพอดแคสต์ พอดแคสเตอร์ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผลิต
                  รายการพอดแคสต์โดยเฉพาะ อาทิเช่น Gimlet Media ที่ปัจจุบันถูกซื้อกิจการจากบริษัทสตรีมมิ่งเพลง

                  Spotify (Quah, 2019) กรณีของสหราชอาณาจักร สื่อที่เริ่มต้นมาจากการเป็นสื่อดั้งเดิม เช่น BBC มีการจัดท า

                  รายการพอดแคสต์จ านวนหลายร้อยรายการเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนผ่านในการบริโภคสื่อ โดยนอกจาก
                  จะผลิตรายการพอดแคสต์รายการใหม่ที่ไม่ได้มีเนื้อหาซ้ าซ้อนกับรายการวิทยุ BBC ยังน าเอาเสียงจากรายการ

                  วิทยุที่เคยถูกเผยแพร่ในอดีตมาลงบันทึกไว้ในรายการพอดแคสต์ เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ อาจกล่าวได้ว่า

                  พอดแคสต์กลายเป็นพื้นที่เสมือนจริงบนโลกออนไลน์ที่สามารถเก็บเอกสารในรูปแบบของเสียงไว้อย่างถาวร

                         ในกรณีของประเทศไทย ถึงแม้จะยังไม่มีบริษัทที่ท าหน้าที่ในการผลิตสื่อประเภทพอดแคสต์เป็นหลัก

                  โดยไม่มีผลิตภัณฑ์อื่นมารองรับ แต่การขยายขนาดของรายการพอดแคสต์ ถือได้ว่ามีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว

                  โดยผู้ด าเนินรายการพอดแคสต์ภาคภาษาไทย (พอดแคสเตอร์) มีทั้งบุคคลทั่วไปที่ถือเป็นผู้ผลิตรายการในฐานะ
                  มือสมัครเล่น ไปจนถึงองค์กรสื่อที่ผลิตรายการพอดแคสต์มากกว่า 10 รายการ ด้วยเหตุผลเดียวกันกับการผลิต

                  รายการพอดแคสต์โดย BBC คือ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนผ่านในการบริโภคสื่อ จากการฟังรายการวิทยุ

                  แบบออฟไลน์มาเป็นการเพิ่มช่องทางการฟังรายการพอดแคสต์โดยมีลักษณะที่มีความเฉพาะเจาะจงตาม
                  ความต้องการส่วนบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์
   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243