Page 236 - 30422_Fulltext
P. 236
| 227
จากการวิเคราะห์ลักษณะการจัดรายการพอดแคสต์ด้านการเมืองภาคภาษาไทย พบว่า รายการ
การเมืองภาคภาษาไทยมีความแตกต่างจากรายการพอดแคสต์ด้านการเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาและ
สหราชอาณาจักร คือรายการพึ่งพิงแขกรับเชิญรายการเป็นจ านวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศ
สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร รายการในประเทศไทยมักเป็นการด าเนินรายการโดยผู้ด าเนินรายการ
ในลักษณะทอล์คโชว์ ในแต่ละสัปดาห์ท าการคัดเลือกประเด็นที่ต้องการเล่าโดยรายการ The Power Game
และรายการ Demmocracy X Innovations จะคัดเลือกประเด็นที่ผู้ด าเนินรายการมองว่าเป็นกระแส
ณ ขณะนั้นมาเล่าให้กับผู้ฟังรายการ ผู้ด าเนินรายการมีหน้าที่ในการตั้งประเด็น อธิบายประเด็น อ้างอิงเนื้อหา
เพิ่มเติมจากแหล่งข่าว – งานวิจัยเชิงวิชาการ หรือการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ รายการที่มีความแตกต่างออกไป คือ
รายการภายใต้ช่อง The Progressive Podcast รายการภายใต้ช่องมีความหลากหลาย ไม่ได้มีการด าเนิน
รายการเป็นประจ า มีการจัดรายการเมื่อผู้ด าเนินรายการมีความสะดวก ผู้ด าเนินรายการ ปิยบุตร แสงกนกกุล
ด าเนินรายการโดยเน้นประเด็นด้านกฎหมายและประเด็นทางวิชาการในการด าเนินรายการ พรรณิการ์ วานิช
ด าเนินรายการโดยประเด็นการจัดรายการจะเป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกันกับรายการ The Power Game
และ Democracy X Innovations คือ คัดเลือกสถานการณ์ที่ก าลังเป็นประเด็นในปัจจุบันมาด าเนินรายการ
โดยส่วนหนึ่งเป็นการวิเคราะห์โดยผู้ด าเนินรายการ และอีกส่วนหนึ่งเป็นรายการประเภทการสัมภาษณ์
แขกรับเชิญรายการ
ข้อสังเกตที่มีต่อผู้ฟังรายการพอดแคสต์ด้านการเมืองในประเทศไทย คือ ผู้ฟังรายการไม่ได้มีการเขียน
แสดงความคิดเห็นในเชิงลบต่อรายการ ทั้งนี้ พบว่า เป็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับรายการ
พอดแคสต์ด้านการเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ที่ผู้ฟังได้เขียนแสดงความคิดเห็นใน
ประเด็นของความล าเอียงในการด าเนินเนื้อหา การคัดเลือกแขกรับเชิญรายการ และการเลือกข้างฝ่ายการเมือง
ของผู้ด าเนินรายการ ในทางตรงกันข้าม ไม่พบข้อวิพากษ์ที่มีต่อรายการที่ด าเนินรายการโดยอดีตนักการเมือง –
The Progressive Podcast ในกรณีที่รายการมีการวิพากษ์รัฐบาล ในรายการ The Power Game ไม่พบการ
แสดงความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วยกับผู้ด าเนินรายการ สิ่งที่ผู้ฟังรายการแสดงความคิดเห็น จะเป็นการแสดงความ
คิดเห็นเพิ่มเติมในประเด็นเนื้อหาของรายการ และชื่นชมในเนื้อหารายการ
จากการเก็บข้อมูลชาวไทย 300 คน พบว่า จ านวนเกินกึ่งหนึ่งเคยฟังรายการพอดแคสต์และเกินกึ่งหนึ่ง
ของผู้ฟังรายการพอดแคสต์เคยฟังรายการพอดแคสต์ประเภทรายการการเมือง ผู้ฟังรายการพอดแคสต์
มีความรู้สึกว่าการฟังข่าวการเมืองและการฟังรายการพอดแคสต์ด้านการเมือง มีผลต่อการกระตุ้นให้มีส่วนร่วม
ทางการเมืองในระดับมาก-มากที่สุด และมีความเห็นว่าการฟังข่าวและการฟังพอดแคสต์รายการการเมือง
ช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจในประชาธิปไตยในระดับมาก-มากที่สุด