Page 235 - 30422_Fulltext
P. 235
| 226
ค าตอบ: มากที่สุด จ านวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 33.45
มาก จ านวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 51.53
ปานกลาง จ านวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 12.63
น้อย จ านวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.71
น้อยที่สุด จ านวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.68
จากค าถามข้อที่ 3 และ 4 พบว่า ผู้ตอบค าถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการฟังข่าวและการฟังพอด
แคสต์รายการการเมืองช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจในประชาธิปไตยในระดับมาก – มากที่สุด
สรุป
พอดแคสต์รายการการเมืองภาคภาษาไทย ถือเป็นรายการพอดแคสต์ที่ได้รับความนิยมภายในประเทศ
จนติดอันดับรายการพอดแคสต์ในประเทศไทย นอกจากนี้ รายการพอดแคสต์ประเภทรายการการเมือง
ภาคภาษาไทยยังติดอันดับรายการพอดแคสต์ในประเทศสปป.ลาว แสดงให้เห็นว่าการเมืองไทยได้รับความสนใจ
จากประเทศเพื่อนบ้าน
วิวัฒนาการการจัดรายการพอดแคสต์ในประเทศไทย ในประเด็นนี้ พบว่า แตกต่างจากประเทศ
สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ในขณะที่รายการพอดแคสต์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
เริ่มต้นจากการจัดรายการโดยองค์กรสื่อ ก่อนที่จะมีการขยายขอบเขตการจัดท ารายการไปในสถานศึกษาและ
องค์กรประเภทต่าง ๆ ในส่วนของประเทศไทย การจัดท ารายการพอดแคสต์รายการแรกเกิดขึ้นจากบุคคลทั่วไป
ที่เริ่มต้นจากการเป็นผู้ฟังรายการพอดแคสต์ภาคภาษาอังกฤษ และหันมาจัดท ารายการพอดแคสต์ในประเด็น
ที่ตนเองชื่นชอบ รายการพอดแคสต์ในประเทศไทยจึงเริ่มต้นจากบุคคลทั่วไป จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อสื่อออนไลน์
The Momentum เริ่มท ารายการพอดแคสต์ในรูปแบบมืออาชีพ มีการเชิญบุคคลผู้มีชื่อเสียงจากหลากหลาย
วงการมาด าเนินรายการพอดแคสต์ รายการพอดแคสต์มีตารางการออกอากาศในวันและเวลาที่แน่นอน
แต่ถึงแม้องค์กรสื่อได้เริ่มเข้ามาจัดท ารายการ กลับไม่พบว่า มีการท ารายการพอดแคสต์ด้านการเมือง
เหตุผลประการหนึ่งอาจเป็นเพราะในช่วงปี พ.ศ. 2557 – ต้นปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยอยู่ในช่วงสุญญากาศ
ทางการเมืองและปราศจากการเลือกตั้ง รายการพอดแคสต์ด้านการเมืองรายการแรก คือ รายการ
Countdown ที่จัดท าโดยนักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ
หลังจากนั้นก่อนการเลือกตั้งราว 1 เดือน The Standard สื่อออนไลน์ ได้เริ่มจัดท ารายการพอดแคสต์
ด้านการเมือง – The Power Game และรายการพอดแคสต์ด้านการเมืองรายการอื่น ๆ ทยอยเปิดตัวรายการ
หลังจากนั้น