Page 168 - 30422_Fulltext
P. 168
| 159
บทที่ 4
พอดแคสต์ทางการเมืองในประเทศไทย
พอดแคสต์ด้านการเมืองในประเทศไทยมีการจัดการผ่านทั้งองค์กรสื่อ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
งานวิชาการ องค์กรทางการเมือง เช่น พรรคการเมือง กลุ่มบุคคลและบุคคลทั่วไป โดยผู้จัดรายการมีความ
หลากหลายทางอาชีพ ได้แก่ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย พนักงานบริษัทเอกชน อดีตผู้ด ารงต าแหน่ง
ทางการเมือง นักข่าว-นักเขียน และผู้ท างานในองค์กรสื่อ
ในส่วนของวิวัฒนาการของสื่อประเภทพอดแคสต์ที่ใช้เผยแพร่ประเด็นทางด้านการเมืองภาคภาษาไทย
พบว่า ถือก าเนิดขึ้นหลังจากที่พอดแคสต์รายการประเภทอื่น ๆ ภาคภาษาไทยได้ถูกจัดท าขึ้น การเติบโตของ
รายการพอดแคสต์ด้านการเมืองภาคภาษาไทยยังมีจ านวนไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับรายการพอดแคสต์
ประเภทอื่น ๆ เช่น รายการพอดแคสต์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ-การตลาด อย่างไรก็ตาม รายการพอดแคสต์ประเภท
รายการการเมืองภาคภาษาไทย ถือเป็นประเภทพอดแคสต์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ฟังในประเทศไทย
เสรีภาพของสื่อในประเทศไทย ถือเป็นประเด็นที่จะต้องน ามาพิจารณาเพื่อให้เข้าใจในบริบทของการ
มีอิสระในการด าเนินรายการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมือง โดยจากมุมมองของกฎหมาย พบว่า กฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชน ได้แก่ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
พ.ศ. 2551, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560, และ
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และก ากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ
กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553, ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560, ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562 และฉบับที่ 4 พ.ศ. 2564
รายการพอดแคสต์ทางการเมืองที่จัดท าโดยองค์กรสื่อในประเทศไทย พบว่า การจัดท ารายการ
พอดแคสต์มีทั้งองค์กรสื่อแบบดั้งเดิมที่ขยายขอบเขตการรับรู้ของรายการโดยการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงของ
ผู้ฟังผ่านพอดแคสต์ และการจัดท ารายการพอดแคสต์โดยองค์กรสื่อประเภทสื่อออนไลน์ ทั้งนี้ รูปแบบในการจัด
รายการพอดแคสต์ด้านการเมืองภาคภาษาไทยมีความหลากหลาย ทั้งในรูปแบบการด าเนินรายการ ความถี่ของ
การออกอากาศรายการ และลักษณะเนื้อหาในรายการ
ในส่วนของงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับพอดแคสต์ทางการเมืองในประเทศไทย ไม่พบว่า มีเอกสารงาน
38
วิชาการที่เกี่ยวข้องกับพอดแคสต์ทางด้านการเมือง ส าหรับการเรียนการสอน พบว่า ในประเทศไทยมีการผลิต
สื่อการสอนประเภทพอดแคสต์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 โดยมหาวิทยาลัยที่มีการผลิตสื่อการสอนพอดแคสต์
เป็นแห่งแรก คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหลังจากนั้น มีรายการพอดแคสต์ที่จัดท าโดยคณะและ
มหาวิทยาลัยอื่น ๆ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
38 จากการค้นหาผ่านระบบ Google Scholar, Thaijo, และ Google Scholar วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564