Page 317 - kpi9942
P. 317

ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50



             มรดกอันมีคุณค่าของท้องถิ่นให้คงอยู่คู่คนในท้องถิ่นและชุมชนคนสุรินทร์  แต่การดำเนินงานใน
             การจัดทำเนียบปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดสุรินทร์มีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก และใช้ระยะเวลานานใน
             การคัดกรองปราชญ์ชาวบ้าน ทำให้นับถึงปัจจุบันนี้ การดำเนินโครงการสภาปราชญ์ขององค์การ
             บริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ รวบรวมปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญและมีความโดดเด่นในแต่ละ
             สาขาอย่างแท้จริงได้เพียง 3 สาขาเท่านั้น คือสาขาศิลปหัตถกรรมและสิ่งทอ สาขาประวัติศาสตร์

             และโบราณคดี และสาขาประเพณีและพิธีกรรม

                    สำหรับอีก 6 สาขาอยู่ในระหว่างกระบวนการการทำงาน ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาอยู่พอ
             สมควร โครงการสภาปราชญ์ จังหวัดสุรินทร์นี้ เป็นโครงการที่มีการดำเนินการในระยะยาว ยังไม่
             สามารถเห็นเป็นรูปธรรมที่เด่นชัด แต่ก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เพราะสามารถรวบรวม
             ปราชญ์แต่ละสาขาที่อยู่อย่างกระจัดกระจายในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ให้เข้ามาอยู่ในทำเนียบสภา

             ปราชญ์อย่างเป็นหมวดหมู่ทั้ง 9 สาขา ตลอดจนมีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิด ระดมความ
             คิดเห็นผ่านการประชุมสัมมนาปราชญ์ ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
             รวมไปถึงจากการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์มีความมุ่งมั่นที่จะรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้
             ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อจัดทำเป็นทำเนียบปราชญ์ชาวบ้าน และเผยแพร่ให้กับสาธารณชน
             ได้รับทราบ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนและ
             ส่งเสริมจารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นอย่างจริงจัง


                  3)  ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน และแนวทางในการแก้ไข
             ปัญหามีดังนี้

                        (1)  การประชุมสัมมนาปราชญ์ชาวบ้าน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ทาง
                           องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ วางเป้าหมายจำนวนปราชญ์ชาวบ้านที่เข้า

                           ร่วมสัมมนาทั้งสิ้น 300 คน ปรากฎว่า มีปราชญ์ชาวบ้านที่ได้รับการคัดสรร
                           จากทุกพื้นที่ในจังหวัดสุรินทร์ เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนั้นเพียง 95 คน
                           เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะบางพื้นที่อยู่ไกล ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
                           ทำให้ไม่มาร่วมการสัมมนา

             แนวทางการแก้ไข    – องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดสัมมนา
                           ต้องประสานขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งปราชญ์ชาวบ้าน

                           เข้าร่วมสัมมนา ให้สนับสนุนค่าใช้จ่ายปราชญ์ชาวบ้านระหว่างเข้าร่วมการ
            12
                  สถาบันพระปกเกล้า
   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321   322