Page 287 - kpi9942
P. 287
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
กลุ่มเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ทั้งคู่ ต่างจาก
3 สมัยที่ผ่านมาที่เป็นการลงสมัครรับเลือกตั้งเพียงกลุ่มการเมืองเดียว ทำให้เกิดการผูกขาด
ทางการเมือง “กลุ่มธงชัย” นำทีมโดยนายธงชัย มุ่งเจริญพร อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมัยที่แล้ว กลุ่มการเมืองดังกล่าวมีรากฐานมาจากกลุ่มรวมพลังและกลุ่มไทยรักไทย ซึ่งเป็นกลุ่ม
การเมืองที่เข้ามาบริหารงานภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ก่อนหน้านี้ เพียงแต่เปลี่ยนชื่อ
กลุ่มการเมืองเท่านั้นเอง
การบริหารของกลุ่มรวมพลังสมัยแรกนั้น มีการเปลี่ยนนายกองค์การบริหารส่วน
จังหวัด ถึง 3 คนด้วยกัน เนื่องจากมีการต่อรองตำแหน่งทางการเมือง ทำให้เกิดการผลัดเปลี่ยน
ตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อให้เกิดเสถียรภาพภายในกลุ่ม แต่ส่งผลเสียอย่างยิ่ง
ต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เนื่องจากการดำเนินงานไม่มีความต่อเนื่อง
สำหรับการบริหารงานของกลุ่มรวมพลังในสมัยที่สอง ไม่มีการเปลี่ยนนายกองค์การบริหารส่วน
จังหวัดบ่อยครั้งเหมือนสมัยแรก ทำให้การบริหารงานเป็นไปอย่างราบรื่น แต่การเตรียมทีมเพื่อลงสู้
ศึกเลือกตั้งในสมัยที่สามนั้นเกิดปัญหาขึ้นภายในกลุ่มรวมพลัง เนื่องจากเกิดความขัดแย้งและการ
ช่วงชิงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มระหว่าง 2 ฝ่าย เพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว ทำให้มีการนำ
คนกลางเพื่อเข้ามาเป็นหัวหน้ากลุ่ม และสมาชิกกลุ่มทั้ง 36 คน ต่างเห็นพ้องต้องกันเลือกนายธงชัย
มุ่งเจริญพร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ และเป็นพี่ชาย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทยในขณะนั้น ขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่มและมีการเปลี่ยนชื่อ
กลุ่มขึ้นใหม่เป็น “กลุ่มไทยรักไทย” นายธงชัยเข้ามาบริหารงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
จนครบวาระ แต่เกิดความขัดแย้งภายในกลุ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อสมาชิกกลุ่มจำนวนหนึ่ง ไม่พอใจการ
บริหารงานของนายธงชัย จึงแยกตัวออกจากกลุ่มและผนึกกำลังร่วมกับนายศุภลักษณ์ ควรหา
รองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย ในนาม “กลุ่มพลัง
ประชาชนสุรินทร์” ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าการตั้งชื่อกลุ่มลักษณะนี้ เข้าข่ายจงใจให้ประชาชนเข้าใจผิด
เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับพรรคพลังประชาชนแต่อย่างใด การแข่งขัน
ทางการเมืองกลับพบว่าเป็นไปอย่างเงียบเหงา ปราศจากการปราศรัยแถลงนโยบายของผู้สมัครรับ
เลือกตั้ง ผู้สมัครไม่มีการแข่งขันในเชิงนโยบายที่แตกต่างอย่างชัดเจนในการหาเสียง แต่อาศัยฐาน
คะแนนที่เกิดจากการจัดตั้งไว้แล้วเพราะเชื่อว่าจะเป็นหนทางที่นำไปสู่ชัยชนะได้เป็นอย่างดีที่สุด
2 2
สถาบันพระปกเกล้า