Page 213 - kpi9942
P. 213
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
สำหรับการเลือกตั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีเมืองเขาสามยอด
ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550 แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 เขต มีหน่วยเลือกตั้ง
31 หน่วย ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง มีจำนวน 19,568 คน มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 10,175 คน คิดเป็น
ร้อยละ 61.32 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงครั้งแรกของตำบลเขา
สามยอด เป็นการแข่งขันทางการเมืองระหว่าง “กลุ่มเขาสามยอดพัฒนา” และ “กลุ่มเขาสามยอด
ก้าวหน้า” ซึ่งกลุ่มเขาสามยอดพัฒนา นำทีมลงแข่งขันโดยนางสาวสายใจ เลิศวิริยะประภา
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามยอด 2 สมัย ลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่ง
นายกเทศมนตรีเมืองเขาสามยอด และส่งสมาชิกลงครบทั้ง 3 เขตๆละ 6 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน
สำหรับกลุ่มเขาสามยอดก้าวหน้ามีหัวหน้ากลุ่มคือร้อยเอกเสริม ปิยะโชติ ลงสมัครรับเลือกตั้งใน
ตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองเขาสามยอด และส่งสมาชิกลงครบทั้ง 3 เขตๆละ 6 คน รวมทั้งสิ้น
18 คนเช่นกัน การแข่งขันทางการเมืองในครั้งนี้กลับพบว่าเป็นไปอย่างเงียบเหงา ปราศจากการ
แถลงนโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สมัครไม่มีการแข่งขันในเชิงนโยบาย แต่อาศัยฐานคะแนน
ที่เกิดจากการเกาะเกี่ยวของกลุ่มการเมืองมากกว่า
ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า กลุ่มเขาสามยอดพัฒนาได้รับเลือกตั้งเข้ามาทั้งสิ้น 14 คน กลุ่ม
เขาสามยอดก้าวหน้าได้รับเลือกตั้งจำนวน 3 คน และผู้สมัครอิสระ 1 คน สำหรับตำแหน่งนายก
เทศมนตรีเมืองเขาสามยอดนั้น นางสาวสายใจ เลิศวิริยะประภา หัวหน้ากลุ่มเขาสามยอดพัฒนา
ได้คะแนนทั้งสิ้น 6,371 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 62.61 ของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด ส่งผลให้
นางสาวสายใจ เลิศวิริยะประภา ได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเป็นสมัยที่ 3
ฐานคะแนนเสียงส่วนใหญ่มาจากทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะในเขตทหาร สำหรับคู่แข่งขันของ
นางสาวสายใจ คือร้อยเอกเสริม ปิยะโชติ หัวหน้ากลุ่มเขาสามยอดก้าวหน้าได้คะแนนเพียง 2,638
คะแนน คิดเป็นร้อยละ 25.93 ของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด ฐานคะแนนเสียงส่วนใหญ่เป็น
ข้าราชการประจำซึ่งอยู่นอกเขตพื้นที่ทหาร
ปัจจุบันการบริหารงานของเทศบาลเมืองเขาสามยอดมีสัดส่วนระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่าย
ค้าน คือ 14:4 โดยที่ฝ่ายบริหารคิดเป็นร้อยละ 77.78 ในขณะที่ฝ่ายค้าน 3 คนนั้นมาจากกลุ่มเขา
สามยอดก้าวหน้า ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม 3 คนและผู้สมัครอิสระ 1 คน สำหรับสัดส่วน
ระหว่างเพศชายและเพศหญิงในการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาล แยกเป็นเพศชายทั้งสิ้น
12 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ในขณะที่เป็นเพศหญิงเพียง 6 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 หาก
20
สถาบันพระปกเกล้า