Page 53 - kpi23819
P. 53

52      จดหมายเหตุศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย








                   แนวคิดเรื่องกฎหมาย หรือระเบียบสังคมที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน อย่างไรก็ตาม อ�านาจดังกล่าวนั้น
                   จะไม่มีอ�านาจอื่นใดที่เหนือกว่ามาปกครองในสังคมนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอ�านาจจากการเมืองนอกสังคม

                   หรืออ�านาจในสังคมรัฐ ซึ่งอ�านาจอธิปไตยมีลักษณะส�าคัญ คือ มีความเป็นสูงสุดเด็ดขาด (Absoluteness)
                   มีความครอบคลุมทั่วไป (Comprehensiveness) และมีความถาวร (Permanence) และที่ส�าคัญในระบอบ

                   ประชาธิปไตยนั้นจะต้องมี พื้นที่ประชาชน วัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยส่งเสริมให้ประชาชนทุกคน
                   มีอ�านาจตัดสินใจร่วมกันอย่างเท่าเทียม


                            หลักกำรประชำธิปไตย ประชาธิปไตย ประกอบด้วย หลักการส�าคัญหลายประการ เปรียบเสมือน

                   รากฐานที่สร้างให้สังคมภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีความเข้มแข็ง ด้วยการสร้างความเข้าใจ
                   ในหลักการ และให้คุณค่าแก่ ควำมเสมอภำค สิทธิเสรีภำพ หน้ำที่ และหลักกำรปกครองโดยเสียงข้ำงมำก

                   ที่เคำรพในสิทธิของเสียงข้ำงน้อย โดยที่มนุษย์ทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด แม้มนุษย์
                   แต่ละคนมีความแตกต่างในแง่เชื้อชาติ สีผิว ศาสนา ภาษา หรือถิ่นก�าเนิด แต่ทุกคนล้วนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

                   เท่าเทียมกัน สังคมประชาธิปไตยจึงต้องยอมรับความแตกต่างหลากหลายในสังคม มีกระบวนการตามกฎหมาย
                   ที่จะช่วยรับรองและส่งเสริมให้ทุกคนเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกันและกัน ตลอดจนสามารถใช้สิทธิ

                   ของตนอย่างเสมอภาค โดยในบางกรณีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันยังยึดโยงกับเรื่องความเป็นธรรม
                   ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ปรากฏบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่าง

                   เปิดกว้างและเสมอภาค ประชาชนทุกคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ การที่บุคคล
                   มีสิทธิเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติถือเป็นรากฐานแห่งความเสมอภาคในสังคมประชาธิปไตย ดังที่ว่า

                   “ศักดิ์ศรีควำมเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภำพ และควำมเสมอภำคย่อมได้รับควำมคุ้มครอง” นอกจากนี้ ระบอบ
                   ประชาธิปไตยเป็นการปกครองโดยเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ จึงให้ความส�าคัญกับหลักการเสียงข้างมาก

                   (Majority Rule) ในกระบวนการก�าหนดนโยบายทุกระดับ แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการเช่นนี้มิได้หมายความว่า
                   เสียงข้างมากมีอิสระที่จะท�าอะไรก็ได้เสียหมด เพราะยังต้องเคารพและไม่ล่วงละเมิดสิทธิของเสียงข้างน้อย

                   (Minority Rights) ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่เห็นแต่ผลประโยชน์ของพวกพ้องตนเท่านั้น
                   แต่ต้องด�าเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด เพื่อสร้างสังคมที่ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข


                            สิทธิ เสรีภำพ และหน้ำที่พลเมือง


                            รากฐานของระบอบประชาธิปไตยประกอบไปด้วยหลักการหลายประการที่ประชาชนในสังคมจะต้อง

                   เข้าใจตรงกันและสอดคล้องกับระบบคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหลักสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่พลเมืองนี้
                   ก็เป็นหลักการที่ส�าคัญอย่างมาก โดยที่ในระบอบประชาธิปไตยได้รับรองสิทธิ และเสรีภาพให้แก่ประชาชน

                   ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของอ�านาจ แต่การจะใช้สิทธิ และเสรีภาพอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์ในสังคมประชาธิปไตยนั้น
                   ก็เป็นเรื่องส�าคัญ โดยที่ สิทธิ คือ ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ เป็นความชอบธรรมที่ปัจเจกบุคคล

                   สามารถใช้อ้างกับผู้อื่นเพื่อคุ้มครองประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของตนเอง อย่างไรก็ดี การใช้สิทธิของบุคคลผู้หนึ่ง
                   จะต้องไม่ไปรบกวนสิทธิ หรือหน้าที่อันควรกระท�าของบุคคลอื่น เช่นนี้ สิทธิจึงมาพร้อมกับความรับผิดชอบเสมอ











         inside_                 A4.indd   52                                                                     1/11/2566   13:30:40
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58