Page 48 - kpi23819
P. 48
47
ข้อสรุปจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกับหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้จากการขุดตรวจทั้งสองหลุม
ไม่ว่าจะเป็นวัตถุ โบราณวัตถุ หรือลักษณะชั้นดิน คือ ไม่พบร่องรอยแนวฐานรากของอาคารโบราณสถาน
กรมโยธาธิการ(หลังเก่า) ฝั่งถนนหลานหลวง ซึ่งสันนิษฐานว่าคงมีการรื้อออกไปจนหมดในการปรับปรุงพื้นที่
ก่อน ปี พ.ศ. 2545 โดยการรื้อถอนในเวลานั้นไม่มีผลกระทบกับฐานรากของอาคารอนุรักษ์ เนื่องจากส่วน
ของอาคารด้านถนนหลานหลวงนั้น เป็นการต่อเติมภายหลัง และไม่ได้ใช้ระบบฐานรากเดียวกับอาคารอนุรักษ์
โดยพื้นที่บริเวณนี้เริ่มมีการเข้ามาใช้งาน หรือมีกิจกรรม ตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 25 ซึ่งตรงกับ
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนการสร้างอาคารอนุรักษ์ และมีการใช้พื้นที่เรื่อยมา
จนถึงปัจจุบัน จากนั้น สถาบันพระปกเกล้าได้ด�าเนินการปรับปรุงพื้นที่ตามแผนที่วางไว้ต่อไป
การจัดท�านิทรรศการของศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
ระยะที่ 1
แนวทางการออกแบบเนื้อหาในนิทรรศการ
ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย ได้ออกแบบการน�าเสนอนิทรรศการไว้อย่างพิถีพิถันตามวัตถุประสงค์
มีการรวบรวมหลักฐานข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ มาร้อยเรียงด้วยหลากวิธีการ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่คัดสรร
มาหลายรูปแบบ ทั้งอักษร รูปภาพ กราฟฟิก แสง สี เสียง มัลติมีเดีย แบบจ�าลอง และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ที่ถูกน�ามาจัดแสดงผสมผสานกันอย่างลงตัว ภายในศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตยท�าหน้าที่บอกเล่าเหตุการณ์
ทางการเมืองของไทยในแต่ละยุคสมัยที่ผันแปรไปจากยุคหนึ่งสู่ยุคหนึ่งตราบจนถึงปัจจุบัน
การด�าเนินงานในทุกขั้นตอน มาจาการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ เอกสารทางประวัติศาสตร์
ที่มีความเป็นกลาง รวมถึงการรับฟังค�าแนะน�า ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญหลายแขนง และ
เรียบเรียงให้เข้าใจง่าย โดยกรอบของการจัดท�าเนื้อหาในการจัดแสดง มีดังนี้
1. เนื้อหานิทรรศการต้องมีความครอบคลุมในมิติเรื่องเวลา ตั้งแต่ช่วงก่อน และหลังการเปลี่ยนแปลง
การปกครอง พ.ศ.2475 โดยน�าเสนอตามล�าดับช่วงเวลา และเน้นเหตุการณ์ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนส�าคัญของพัฒนาการ
ทางการเมืองไทย
2. เนื้อหาต้องแสดงให้เห็นถึงบทบาท และปฏิสัมพันธ์ของบุคคลต่าง ๆ ในแวดวงทางการเมือง ทั้งระดับ
ผู้น�า และประชาชน (พลเมือง) ในแต่ละช่วงเวลา ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นต่อพัฒนาการด้านประชาธิปไตยของไทย
โดยเน้นการอธิบายข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ สร้างแรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์ หรือมุมมองในเชิงบวก กระตุ้นการ
เรียนรู้จากบทเรียน และวัตถุที่เป็นสัญลักษณ์ และ/หรือมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือเหตุการณ์นั้น ๆ
inside_ A4.indd 47 1/11/2566 13:30:25