Page 54 - kpi23819
P. 54

53








                        การเคารพสิทธิของตนเองและของผู้อื่นจึงเป็นรากฐานแห่งการสร้างสังคมที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ สามารถ
                        จัดการความขัดแย้งทางการเมืองด้วยครรลองตามระบอบประชาธิปไตย


                                เสรีภาพ คือ อ�านาจตัดสินใจของปัจเจกบุคคลที่จะกระท�าการ หรือไม่กระท�าการบางอย่างตาม

                        เจตจ�านงเสรีของตน (Free will) โดยไม่มีบุคคลอื่นมาครอบง�าหรือควบคุมการตัดสินใจนั้น ดังนั้น เสรีภาพ
                        ในสังคมประชาธิปไตยจึงเท่ากับ “ความสามารถในการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง โดยไม่ถูกชี้น�าบังคับให้กระท�า

                        หรือบังคับไม่ให้กระท�าการใด ๆ ทั้งปวง” เมื่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยได้มอบทั้งสิทธิและ
                        เสรีภาพให้แก่ปวงชนชาวไทย ก็ได้ก�าหนดหน้าที่ของปวงชนชาวไทยไว้ คือ การธ�ารงรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และ

                        พระมหากษัตริย์ เป็นหน้าที่หลักที่คนไทยทุกคนพึงระลึกและยึดถือ โดยมีรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้ประชาชน
                        มีสิทธิเสรีภาพและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศเป็นกฎหมายสูงสุด ทั้งนี้ การสร้างสังคมประชาธิปไตย

                        ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยย่อมต้องอาศัยการวางรากฐานผ่านการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Civic
                        Education) ดังกล่าว “ประชาธิปไตยจะประสบความส�าเร็จได้ไม่ใช่เพียงมีรัฐธรรมนูญที่ดีเท่านั้น แต่ประชาชน

                        จะต้องเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย โดยผ่านการออกแบบให้พลเมืองมีสิทธิและหน้าที่เป็นของควบคู่กัน”


                                กำรเมืองในชีวิตประจ�ำวัน


                                หลังจากที่เรียนรู้หลักการพื้นฐานอันเป็นคุณค่าหลักในระบอบประชาธิปไตยแล้ว การเรียนรู้เรื่อง
                        การเมืองในชีวิตประจ�าวันก็เป็นส่วนส�าคัญอย่างยิ่งที่จะเน้นย�้าให้ผู้เข้าชมตระหนักถึงความส�าคัญของตนเอง

                        ที่ส่งผลต่อระบอบประชาธิปไตย เมื่อตระหนักว่าการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่เราคิด และเป็นส่วนหนึ่งกับ
                        ชีวิตประจ�าวันของเรา การท�าความเข้าใจการเมืองผ่านเรื่องรอบตัว จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องบทบาท

                        หน้าที่ของรัฐ และตระหนักถึงความส�าคัญในการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อกล่าวถึง “การเมือง” หลายคน
                        อาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องของพวกนักการเมือง หรือข้าราชการ แต่ในความเป็นจริง การเมืองนั้น

                        อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ไล่ตั้งแต่ตอนลุกจากเตียงยามเช้าถึงตอนทิ้งตัวลงนอนกลางดึก กิจกรรมนับไม่ถ้วน
                        ของเราล้วนเกี่ยวพันกับการเมือง ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟฟ้าที่เราใช้ มาตรฐานของอาหารที่เราบริโภค ราคาสินค้า

                        น�าเข้าจากต่างประเทศ คุณภาพถนนหนทาง ระยะเวลาที่เราต้องรอก่อนได้รับการบริการที่โรงพยาบาล จ�านวน
                        ต�ารวจตามสถานีต�ารวจ ไปจนถึงผังรายการโทรทัศน์ หลากหลายมิติในชีวิตประจ�าวันของเราล้วนเป็นผลลัพธ์

                        จากการเมืองทั้งสิ้น นอกจากนี้เรื่องราวการเมืองกับสื่อมวลชนล้วนสัมพันธ์กัน กล่าวคือ สื่อมวลชนถือเป็น
                        ตัวกลางในการส่งผ่านข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นสู่ประชาชน ไม่ว่าจะด้วยช่องทางวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ หรือเทคโนโลยี

                        อินเทอร์เน็ตในรูปแบบของเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ที่ก�าลังได้รับความนิยมในทุกวันนี้ สื่อมวลชนและการเมือง
                        เกี่ยวพันกันทุกขณะและมีปฏิสัมพันธ์โต้กันไปมา หลายต่อหลายครั้ง สื่อมวลชนได้กลายเป็นเครื่องมือที่ผู้ปกครอง

                        ใช้กล่อมเกลาความคิด รวมไปถึงชี้น�าคุณค่าทางการเมืองของประชาชน ในขณะเดียวกัน ก็ท�าหน้าที่ช่วยประชาชน
                        ในการตรวจสอบการท�างานของผู้ปกครอง เพราะฉะนั้นเสรีภาพของสื่อมวลชนจึงมีความส�าคัญมาก เพราะเป็น

                        เงื่อนไขที่รับประกันว่า ประชาชนจะมีความรอบรู้ เข้าถึงข้อเท็จจริงได้ ไม่ถูกครอบง�าโดยใคร การที่สังคมใด
                        จะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็นสามารถพิจารณาได้จากสื่อว่าได้รับเสรีภาพหรือไม่นั่นเอง











         inside_                 A4.indd   53                                                                     1/11/2566   13:30:40
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59