Page 66 - kpi23788
P. 66
Conflict Mapping Thailand phase 5
56
จากการส ารวจหาข้อมูลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย เพื่อหาข้อมูลถึงสาเหตุที่เป็น
ปัจจัยให้เกิดการเผา และสาเหตุที่ท าให้การจัดการเรื่องการเผาไม่สามารถท าได้อย่างเด็ดขาด มาจากข้อจ ากัดใดบ้าง
โดยขอแบ่งประเภทสาเหตุเป็น 2 ประการ ดังนี้
1) การเผาที่เกิดจากการตั้งใจเผาโดยประชาชนโดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด ได้แก่
1.1) เผาในพื้นที่ท าการเกษตร รวมถึงพื้นที่ สปก ของตนเอง เพื่อเผาเศษพืชการเกษตร
ส าหรับเตรียมการเพาะปลูกรุ่นใหม่ต่อไป
1.2) เผาในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เกิดจากการเผา เช่น ให้ได้ยอดไม้อ่อน เห็ด เผาเพื่อ
ล่าสัตว์ เผาเพื่อเอาพื้นที่ป่ามาท าเป็นพื้นที่ท าการเกษตร ไร่หมุนเวียน หรือต้องการบุกรุก
ที่ดินเพื่อใช้ในประโยชน์อื่นๆ
1.3) เผาในพื้นที่อยู่อาศัย โดยส่วนมากจะเป็นการเผาขยะในเขตบ้านที่อยู่อาศัย เช่น การเผา
เศษใบไม้ กิ่งไม้ หรือการเผาขยะในบ้าน โดยปัจจุบันประชาชนตระหนักถึงภัยที่เกิดจาก
การเผาขยะในเครัวเรือนมาก ท าให้ปัญหานี้ค่อยๆ ลดลงไปอย่างมาก
2) กระบวนการจัดการปัญหาอันสืบเนื่องจากสาเหตุการเผาในปัจจุบัน
จากสาเหตุของการเกิดการเผาดังที่กล่าวมาแล้ว ทั้ง 3 สาเหตุ จะเห็นได้ว่าการที่จะแก้ไขให้ปัญหาการเผา
หมดสิ้นไปได้ ควรแก้ไขโดยใช้วิธีการแก้ไขตามแต่ละกรณีไป ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงงานรัฐ ได้ออกมาตรการการแก้ไข
ปัญหาดังกล่าวหลายอย่าง หลายมาตรการประสบความส าเร็จมากน้อยแตกต่างกันออกไป ดังจะกล่าวถึงมาตรการ
การปฏิบัติงานเพื่อเป็นการป้องกันการเผาในพื้นที่ต่าง ๆ ที่รัฐใช้ในการแก้ปัญหาในแต่ละสาเหตุข้างต้น ในการ
ด าเนินงานหลายหน่วยงานมีระบบการเฝ้าสังเกต ติดตาม และเข้าไปดับไฟตามหน้าที่และเขตความรับผิดชอบของ
ตนเอง แต่หากสถานการณ์มีความรุนแรงเกินกว่าก าลังการรับมือของหน่วยงานนั้น ๆ อาจมีการจัดตั้งหน่วยงาน
ฉุกเฉินส าหรับแก้ปัญหาเป็นการเฉพาะ หรือหากกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พิจารณา
เห็นความจ าเป็นใช้มาตรการใด ๆ ที่จ าเป็นก็จะด าเนินการสั่งการ หรือหากพื้นที่นั้นมีปัญหาความรุนแรงมากและ
ครอบคลุมพื้นที่ กว้างขวาง ก็ใช้กลไกตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และแผนการ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 โดยอาจยึดตามโครงสร้าง บกปภ.ช. (ส่วนหน้า) หมายถึง
สถานที่อันเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ซึ่งได้มีการแต่งตั้งผู้ก ากับควบคุม
พื้นที่เข้าไปร่วมปฏิบัติงานในกรณีที่เหตุการณ์นั้น(ดูภาพ 4.1 – 4.4) เป็นต้น
-56-