Page 65 - kpi23788
P. 65
Conflict Mapping Thailand phase 5
55
ชั้นบรรยากาศไม่ถูกท าลายมาก แต่เมื่อปัจจุบันสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เอื้ออ านวยต่อ
กิจกรรมนั้นแล้วมาก การน าวิถีการใช้ชีวิตแบบเก่ามาใช้ก็ย่อมเกิดปัญหา อย่างเช่น ปัจจุบันการเผาในที่แจ้งเมื่อมีการ
เผาแล้ว จะเกิดควัน ซึ่งควันที่เกิดขึ้นก็จะไปรวมกับฝุ่นละอองประเภทอื่น ๆ เมื่อมีปริมาณที่มาก ก็จะเกิด
ปรากฏการณ์ PM2.5 ผลกระทบนี้ มิใช่ว่าจะเกิดกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่จะกระทบกับทุกคน ไม่ว่าคนในพื้นที่
หรือนอกพื้นที่ ที่ส าคัญฝุ่นควันที่เกิดจากการเผาในที่แจ้งเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของฝุ่น PM2.5 เพราะนอกจาก
ฝุ่นจากควันไฟแล้ว ยังมีฝุ่นจากรถ โรงงาน การท าเหมือง การก่อสร้าง ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากกากระท าเพื่อ
ตอบสนองความต้องการการบริโภคของคนในสังคมนั่นเอง ดังนั้นบริบทของ Conflict ฝุ่น PM 2.5 การเผาในที่แจ้ง
จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย จึงเป็น “ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างสังคม” มากกว่าความขัดแย้งเฉพาะตัว ดังนั้นใน
การวิเคราะห์ Conflict ในเรื่องนี้จะเน้นในเรื่องการมองสาเหตุของปัญหา กับการมองภาพรวมการแก้ปัญหาเชิง
ระบบ เป็นส าคัญ
การเผาในที่แจ้งในเขตจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เป็นสาเหตุของการเกิดควันและตามมาด้วย
ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในปัจจุบันได้มีมาตรการการแก้ไขเพื่อให้ปัญหานี้หมดไป แต่ปัญหาก็ลดไปในระดับหนึ่งเท่านั้นเช่น
ปัญหาการเผาในเขตพื้นที่ชุมชนที่ปัจจุบันมีการเผาลดน้อยลงไปมาก เนื่องจากเป็นการเผาในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของ
บ้านเรือน จึงมีการควบคุมดูแลภายในชุมชนกันเอง แต่ในส่วนที่เป็นพื้นที่ที่ห่างไกลจากชุมชนหรือพื้นที่ท ากินทางการ
เกษตร พื้นที่ สปก. ปัญหานี้ก็ยังมีอยู่ แม้ปัญหาจะลดลงแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบการเผาไหม้มากที่สุด เนื่องจากอยู่ไกลจากชุมชน
มีพื้นที่กว้างขวาง ท าให้เมื่อมีผู้กระท าผิด จึงจับมาลงโทษได้ยาก และง่ายต่อการเผา
-55-