Page 248 - kpi23788
P. 248

7.1.3 แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ปี 2567

                            แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ปี 2567 แบ่งออกได้เป็น 8 ด้าน ดังนี้

                            1) การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) บินสำรวจชี้พื้นที่เป้าหมาย/

               เฝ้าระวัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามและเฝ้าระวังในระดับพื้นที่ รวมทั้งการสนับสนุนแอพพลิเคชั่นต่างๆ
               ที่พัฒนาขึ้น เช่น การส่งเสริมการใช้แอพพลิเคชั่น Burn Check เพื่อบริหารจัดการการเผาในพื้นที่โล่งควบคู่กับ

               การจัดโซนนนิ่งการเผา เป็นต้น รวมทั้งการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการนำเทคโนโลยีมาใช้ได้
               อย่างมีประสิทธิภาพ

                            2) การบูรณาการข้อมูล โดยการประสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อให้เกิดการใช้
               ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันบนพื้นฐานการตัดสินใจบนฐานข้อมูลชุดเดียวกัน ช่วยให้การบริหารจัดการเชิงพื้นที่

               เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                            3) การบริหารจัดการ เช่น การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า แนวกันไฟ

               แผนจัดชุดลาดตระเวนดับไฟ แผนลาดตระแวนประจำหมู่บ้าน แผนการบริหารจัดการเชื้อพลิงเพื่อยกระดับ
               ประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชื้อเพลิง การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบและการขยายองค์ความรู้ด้านการบริหาร

               จัดการไปยังพื้นที่อื่น การกำหนดพื้นที่บริหารจัดการพิเศษ/พื้นที่เสี่ยงไฟป่า การขอรับการสนับสนุนจากกรม
               อุทยานฯ ในการจัดตั้งสถานีควบคุมไฟป่าหมู่บ้านดับไฟป่าหรือเพิ่มเติมให้ครอบคลุมป่าอนุรักษ์ทุกพื้นที่ รวมทั้ง

               การส่งเสริมบทบาทให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลัดในการแก้ไขปัญหาไฟป่า
                            4) งบประมาณ การพิจารณาสนับสนุนงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความตระหนัก

               และเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนเครือข่ายและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมในการบริหาร
               สถานการณ์ไฟป่าหมอกควันให้มีความต่อเนื่อง การจัดทำร่างแผนบูรณาการด้านงบประมาณจากหลายภาค

               ส่วน และการจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านไฟป่าในจังหวัด
                            5) เศรษฐกิจ-สังคม การสนับสนุนการสร้างอาชีพและรายได้ทดแทนทางเลือกอื่นเพิ่มเติม

               รวมทั้งการสนับสนุนให้ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง การจัดทำแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิง การสนับสนุน
               เครือข่ายเฝ้าระวังไฟป่าให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน การสนับสนุนการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรใน

               พื้นที่ด้วย รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์รับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่
                            6) สิ่งแวดล้อม โดยการส่งเสริมการปลูกป่าโดยเฉพาะป่าที่ถูกบุกรุกและป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม

               การฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ การปลูกไม้ทดแทนพื้นที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่า รวมถึงการสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อสร้าง
               ความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่า

                            7) กฎหมาย/ระเบียบข้อบังคับ การเสนอแนะเพื่อการพัฒนา/ปรับปรุงระเบียบข้อบังคับ/
               กฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งการกำหนดเขตควบคุมไฟป่าและมาตรการทางกฎหมาย

               ในการควบคุมไฟป่าในเขตป่าไม้
                            8) การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ เน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบให้ประชาชน

               ตระหนักรู้ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบให้ประชาชนตระหนักรู้ รวมถึงการจัดทำสื่อภาษาถิ่นสร้างความ
               เข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่อีกด้วย





                                             รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ                       119
                                             สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.
   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253