Page 246 - kpi23788
P. 246

ผลจากการประชุมและสรุปการทบทวนหลังการปฏิบัติ AAR ของการแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควัน

               และฝุ่นละออง 17 จังหวัดภาคเหนือ สามารถสรุปออกเป็น 3 หัวข้อ ประกอบด้วย แนวปฏิบัติที่ดี (Best
               Practice) ปัญหาและอุปสรรค และแนวทางแก้ไขในปี 2567 โดยรายละเอียดมีดังนี้


                       7.1.1 แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)
                            1) การบูรณาการบริหารจัดการ ซึ่งในแต่ละจังหวัดมีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการ/ศูนย์อำนวยการ

               เช่น ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้า (จ.น่าน จ.เพชรบูรณ์ จ.สุโขทัย) การจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันไฟ

               ป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (จ.แม่ฮ่องสอน) การจัดทำข้อบันทึกตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับ
               พื้นที่ (จ.เชียงใหม่ จ.เพชรบูรณ์) การบูรณาการระหว่างอำเภอของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลงพื้นที่ลาด

               ตระเวณ (จ.อุทัยธานี) การจัดชุดลาดตระเวน (จ.เชียงราย) การบริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยการควบคุมการเผา
               ในพื้นที่ป่าและการจัดทำแนวกันไฟ (จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก) การจัดทำแผนปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ไฟป่า

               (จ.เพชรบูรณ์) การบริหารจัดการวัสดุทางการเกษตร (จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร) รวมทั้งการกำหนดพื้นที่เสี่ยงเพื่อ

               ยกระดับการเฝ้าระวัง เช่น โครงการเชียงใหม่โมเดล (จ.เชียงใหม่) ดอยอินทรีย์โมเดล (จ.เชียงราย) สระแก้ว
               โมเดล (จ.กำแพงเพชร) เป็นต้น

                            2) การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนเบื้องต้น ประกอบด้วย การสำรวจผู้
               มีอาชีพเก็บหาของป่า (จ.ตาก จ.สุโขทัย) การประเมินพื้นที่เสี่ยงรายสัปดาห์ (จ.แม่ฮ่องสอน) การประเมิน

               ปริมาณเชื้อเพลิงชีวมวลจากการเกษตร (จ.นครสวรรค์)

                            3) การใช้เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการการเผาในพื้นที่ เช่น การใช้แอพพลิเคชั่น Fire D ของ
               จังหวัดเชียงใหม่ และการบริหารจัดการเชื้อเพลิงผ่านแอพพลิเคชั่น Burn Check ในจังหวัดเชียงรายและ

               จังหวัดพิจิตร

                            4) การบังคับใช้กฎหมาย/ระเบียบข้อบังคับต่างๆ เช่น การประกาศปิดป่าอนุรักษ์และป่าสงวน
               แห่งชาติ (จ.ตาก) การกำหนดช่วงห้ามเผาเด็ดขาดเพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการห้ามเผา (จ.ตาก, จ.แม่ฮ่องสอน

               ,จ.พิจิตร) การควบคุมฝุ่นละอองจากแหล่งกำเนิดต่างๆ (จ.น่าน,จ.พิษณุโลก) การประกาศเขตภัยพิบัติไฟป่า (จ.
               เชียงใหม่) การกำหนดมาตรการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่แหล่งกำเนิด (จ.สุโขทัย) การปฏิญาณตนเพื่อ

               ไม่ให้เผาป่า (จ.พิษณุโลก) รวมทั้งการนำพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติจราจรทาง

               บกมาบังคับใช้ (จ.พิจิตร)
                            5) การสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างเครือข่าย

               เกษตรกรปลอดการเผาถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร  การนำเชื้อเพลิงมาใช้ประโยชน์
               "ชิงเก็บ ลดเผา" (จ.แม่ฮ่องสอน) การสร้างชุมชนต้นแบบลดการเผา (จ.ลำปาง) การจัดให้มีอาสาสมัครในพื้นที่

               (จ.สุโขทัย จ.อตรดิตถ์ จ.พิจิตร) การสร้างเครือข่ายเกษตรปลอดการเผาและอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (จ.ตาก)

               การสนับสนุนการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเข้าสู่ระบบเชื้อเพลิงของโรงงานที่มีการจัดการมลพิษทาง
               อากาศ (จ.อุทัยธานี) รวมทั้งการใช้มาตรการในการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันอย่างยั่งยืนทั้งมาตรการป้องกัน

               มาตรการเสริมสร้างความเข้าใจ และมาตรการพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน (จ.เชียงราย)




                                             รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ                       117
                                             สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251