Page 247 - kpi23788
P. 247
6) การประชาสัมพันธ์ เน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุกโดยการจัดงานรณรงค์ป้องกันและแก้ไข
ปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก รวมทั้งการจัดนิทรรศการและสาธิตการบริหารจัดการเศษ
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น การจัดทำหน่วยปฏิบัติการระดับพื้นที่ (Mobile Unit) การเยี่ยมเยียน
เกษตรกร (จ.ลำปาง) การจ้างงานประชาชนในพื้นที่เพื่อช่วยกันลาดตระเวณและดับไฟป่าในช่วงสถานการณ์
รุนแรง (จ.ลำพูน) รวมทั้งการส่งเสริมมวลชนสัมพันธ์ในช่วงวิกฤตรุนแรงแบบเคาะประตูบ้าน (จ.แม่ฮ่องสอน,จ.
เพชรบูรณ์) เป็นต้น
7.1.2 ปัญหาและอุปสรรค
1) สภาพพื้นที่ เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน ยากต่อการเข้าถึง ทำให้
เป็นอุปสรรคต่อการดับไฟ และพื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ (ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ) เมื่อถึงฤดูแล้งจะ
ผลัดใบและเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ซึ่งง่ายต่อการลุกลามของไฟอย่างรวดเร็ว ประกอบกับมีเชื้อเพลิงสะสมคงค้าง
ตั้งแต่ปี 2565 และยังประสบปัญหาเรื่องหมอกควันข้ามแดน (transboundary pollution) จากประเทศเพื่อน
บ้านโดยรอบอีกด้วย
2) สภาพอากาศ ในปี 2566 ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สภาวะเอลนิโญ ส่งผลให้แต่ละพื้นที่มี
อุณหภูมิสูงและความชื้นต่ำ หลายพื้นที่มีความแห้งแล้งค่อนข้างมาก ทำให้ง่ายต่อการลุกลามของไฟ
3) สภาพเศรษฐกิจ-สังคม ประชาชนและเกษตรกรในบางพื้นที่ขาดการจัดการเศษวัชพืชหรือ
สิ่งเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างเหมาะสม และยังใช้วิธีเผาวัสดุทางการเกษตรเพื่อจัดเตรียมพื้นที่เพาะปลูก
โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวโดยไม่มีการทำแนวกันไฟ ทำให้เกิดไฟลุกลามออกนอกพื้นที่ตนเอง ประกอบ
กับบางส่วนยังคงประกอบอาชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์และการหาของป่าโดยการเผา ประชาชนในพื้นที่ไม่มีอาชีพ
ในฤดูแล้ง การขาดความตระหนักในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า อีกทั้งในบางพื้นที่มีประชากรหลายชน
เผ่า ทำให้การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ทำได้ยากและไม่ทั่วถึง
4) การบริหารจัดการเชิงพื้นที่ เนื่องด้วยปัญหาไฟป่าหมอกควันมีข้อจำกัดในพื้นที่รอยต่อ
ระหว่างประเทศ จังหวัดและอำเภอ เช่น จังหวัดตาก มีเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยาน
แห่งชาติ) มีพื้นที่คาบเกี่ยวจังหวัดใกล้เคียงหลายแห่งและหลายหน่วยงาน ทำให้เกิดความล่าช้าในการ
ประสานงาน
5) งบประมาณที่มีจำกัด ทำให้การจัดหาเครื่องมือ/อุปกรณ์ในการดับไฟไม่เพียงพอต่อการเข้า
ไปดับไฟ การขาดแคลนเจ้าหน้าที่ในการสนับสนุนและบริหารจัดการไฟป่า ทำให้การเข้าดับไฟไม่สามารถทำได้
ทันท่วงที รวมทั้งความอ่อนล้าจากการปฏิบัติงานต่อเนื่องหลายชั่วโมง อีกทั้งชาวบ้านในพื้นที่บางส่วนยังขาด
ความรู้และการฝึกฝนในการเข้าดับไฟ
6) การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปได้ยาก เนื่องจากต้องมีการกระทำความผิดเชิงประจักษ์
7) การขาดแคลนเครื่องมือและแหล่งรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตร ประกอบกับค่าขนส่งเศษ
ซากวัสดุจากพื้นที่ไปยังแหล่งรับซื้อมีต้นทุนค่อนข้างสูง
รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 118
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.