Page 211 - kpi23788
P. 211

4.3 การกำหนดช่วงเวลาห้ามเผาจากข้อมูลจุดความร้อนสะสม



                       จากหัวข้อ 4.2 การเปรียบเทียบพื้นที่เผาไหม้และช่วงเวลาห้ามเผานั้นแสดงให้เห็นชัดว่า การกำหนด
               ช่วงเวลาห้ามเผาควรมีการทบทวนเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ของแต่ละจังหวัด ดังนั้น เพื่อให้การ

               กำหนดช่วงห้ามเผาเป็นไปตามสภาพความเป็นจริง จึงนำข้อมูลจุดความร้อนสะสมรายปีย้อนหลัง 10 ปี ในช่วง
               เดือนมกราคมถึงเมษายน ระหว่างปี 2557-2566 มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยจุดความร้อน จากข้อมูลพบว่าจุดความ

               ร้อนเฉลี่ยของแต่ละจังหวัดจะมีจำนวนจุดความร้อนเฉลี่ยสูงสุด-ต่ำสุดแตกต่างกัน ดังตารางที่ 4.5 ทั้งนี้

               สามารถจำแนกช่วงเวลาของการห้ามเผา หรือช่วงเวลา 60 วันที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ ออกได้เป็น 5 ช่วง เพื่อ
               เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการกำหนดช่วงห้ามเผาในปีถัดไป ดังตารางที่ 4.6 และภาพที่ 4.20



              ตารางที่ 4.5 ค่าเฉลี่ยจุดความร้อนช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมในระหว่างปี 2557-2566 ในพื้นที่ 17 จังหวัด


































              ตารางที่ 4.6 ช่วงเวลาของการห้ามเผาจากการวิเคราะห์ข้อมูลจุดความร้อนเฉลี่ยสูงสุด-ต่ำสุด

                 ช่วงที่           ช่วงเวลา                                  จังหวัด
                  1     1 มกราคม - 29 กุมภาพันธ์        นครสวรรค์ พิจิตร

                  2     22 มกราคม - 21 มีนาคม           อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กำแพงเพชร เพชรบูรณ์
                  3     1 กุมภาพันธ์ - 7 เมษายน         ลำปาง

                  4     8 กุมภาพันธ์ - 7 เมษายน         เชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก
                  5     22 กุมภาพันธ์ - 21 เมษายน       แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย







                                              รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ          82
                                 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216