Page 213 - kpi23788
P. 213

บทที่ 5


                   การติดตามการปกคลุมของหมอกควันและค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก



                       ไฟป่าและหมอกควันในช่วงฤดูแล้งของประเทศไทยทุกปี เป็นผลจากการกำจัดเศษวัสดุทางเกษตรเพื่อ

               เตรียมการสำหรับการทำเกษตรก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝน แต่ด้วยสภาพอากาศที่แห้งแล้ง การเคลื่อนตัวของลมน้อย

               ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศบางแห่งเป็นแอ่งกระทะ เช่น แอ่งแม่ฮ่องสอน แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน เป็นต้น ทำ
               ให้ฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศยากต่อการเคลื่อนที่โดยเฉพาะปริมาณฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือและบริเวณ

               พื้นที่โดยรอบ เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่เป็นโรคทางเดิน

               หายใจ การท่องเที่ยว และการคมนาคมอีกด้วย


                       จากสถานการณ์ข้างต้น การเฝ้าระวังและติดตามการปกคลุมของหมอกควันและการประเมินค่าฝุ่น
               ละอองขนาดเล็ก ทั้ง PM2.5 และ PM10 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศ จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการ

               ตรวจสอบการแผ่กระจายของหมอกควัน และจัดทำแผนที่แสดงดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index:

               AQI) ในภาพรวมทั้งในประเทศไทยและเพื่อนบ้านโดยรอบ โดยมีรายละเอียดดังนี้


               5.1 การวิเคราะห์การปกคลุมของกลุ่มหมอกควัน


                            การวิเคราะห์การปกคลุมของกลุ่มหมอกควัน ดำเนินการในช่วงเวลา 13.00-14.00 น.

              (โดยประมาณ) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็กและกลุ่มควันชัดเจนที่สุด ซึ่งการ
              ดำเนินงานนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์จากภาพสีผสมจริง (True color composite) ของข้อมูลจากดาวเทียม Terra
              และ Aqua ระบบ MODIS ด้วยวิธีสังเคราะห์เชิงวัตถุ (Object-oriented Analysis) และดำเนินการตรวจสอบ

              ความถูกต้องจากผลการวิเคราะห์ด้วยสายตา (Visual interpretation) ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย รวมทั้งการ
              จัดทำแผนที่การปกคลุมของหมอกควันและแผนที่การคาดการณ์ความเร็วและทิศทางลมในประเทศไทย และใน
              พื้นที่ 17 จังหวัด ดังภาพที่ 5.1 และภาพที่ 5.2 ตามลำดับ




























                                              รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2566 โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ          84
                                 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน): สทอภ.
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218